วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

สติและสัมปชัญญะ


มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม
วิปัสสนาภาวนา รุ่น ๑๑
Mahachulalongkornrajavidyalaya University
Palisueksabuddhaghosa Campus Nakhonpathom
Vipassana Meditation Batch #11
ประวัติผู้วิจัย
Ø พระมหาสุเทิด  มหิทฺธิโก (เทียรวรรณ)
v การศึกษา
ทางธรรม : นักธรรมเอก จบบาฬีใหญ่ชั้นนักศึกษา และเปรียญธรรม ๔ ประโยค วัดจากแดง สมุทรปราการ
ทางโลก : ปริญญาตรี พุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ.) สาขาวิชาบาลีพุทธศาสตร์ และปริญญาโท พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.) สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม
v Email : Mahittiko4@gmail.com

สติและสัมปชัญญะในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
            บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของสารนิพนธ์เรื่อง ศึกษาสติและสัมปชัญญะในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสติและสัมปชัญญะในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และเพื่อศึกษาสติและสัมปชัญญะในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า
สติตามรูปศัพท์ หมายถึง การตามระลึกอารมณ์ของจิตทุกขณะปัจจุบัน ส่วนสัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัว ธรรมทั้งสองเป็นธรรมที่เกื้อกูลและสนับสนุนธรรมอื่นๆ พระพุทธเจ้าจึงทรงสรรเสริญ สติและสัมปชัญญะว่าเป็นธรรมที่เป็นประโยชน์สูงสุด จัดเป็นภาเวตัพพธรรม คือ ธรรมที่สมควรทำให้เกิดมีและเจริญขึ้น มีประโยชน์มากทั้งในด้านการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติธรรม หลักธรรมที่สนับสนุนสติและสัมปชัญญะ คือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ มีสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น ผู้ขาดสติและสัมปชัญญะจะทำให้ภาวะของจิตตกอยู่ในฝ่ายอกุศลธรรมและเป็นเหตุให้ทำความชั่วต่างๆ
           
             สติและสัมปชัญญะในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา คือการใช้สติและสัมปชัญญะกำหนดรู้สภาวธรรมรูปนามโดยการกำหนดรู้เห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม  ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาต้องมีสติและสัมปชัญญะกำหนดรู้อิริยาบถใหญ่คือการเดิน ยืน นั่ง นอน และอาการทางกายต่างๆ ให้ทันขณะปัจจุบันตามสภาวะความเป็นจริงด้วย จนจิตไม่หลงยึดความคิดปรุงแต่งว่าเป็นจริง จึงจะเกิดปัญญาญาณได้ องค์ธรรมสำคัญในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐานมี อาตาปี สัมปชาโน สติมา ซึ่งเป็นองค์คุณที่ช่วยทำให้เห็นสภาวธรรมทั้งหลายที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง สามารถกำจัดอภิชฌาและโทมนัสทุกอย่างได้ เมื่อจิตดำเนินไปตามโพธิปักขิยธรรม พร้อมด้วยสติและสัมปชัญญะที่มีความเข้มแข็งแก่กล้าจึงจะทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุมรรคญาณ ผลญาณ และพระนิพพาน ความทุกข์ทั้งหมดจึงดับได้อย่างสิ้นเชิงซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา

Sati and Sampajanna in Vipassana Meditation Practice
This academic article was a part of research paper entitles “A Study of Sati and Sampajanna in Vipassana Meditation Practice” Having Obuectives to study Sati-Sampajañña or mindfulness and awareness in Theravada Buddhist scriptures, and to study to study Sati-Sampajañña for Vipassana meditation practice. The recheach Found:
Sati literally means being mindful of all phenomena; physical and mental in every present moment only and Sampajañña refers to complete awareness or realizing one self. Both of them are supportive of all virtues and the Buddha has advised Sati-Sampajañña as a great benefit of all Dhamma called as ‘Bhāvetabbadhamma’ or virtues which should be cultivated in mind in living and insight practice.By following ‘Bodhipakkhiyadhamma’ or the 37 factors of enlightenment such as four foundations of mindfulness, this Sati-Sampajañña will be developed in advance steps by steps. Without mindfulness and awareness, one’s mind will fall into unwholesome parts committing the evil acts.
To imply mindfulness and awareness for insight practice is to use this mindfulness and awareness observing the presents state of Rupa-Nama or forms and names, contemplating on body, feeling, mentality and mental objects as well as in all main gestures; walking, standing, sitting, sleeping and other manners as they really appear until the mind became bright and free from all mental formations. The important factors of insight practice based on Four Foundations of Mindfulness are Atāpi (Effort), Sampajāno (Awareness) and Satimā (Mindfulness). These virtues will lead the practitioners to realize the reality as they really are and uproot all greed, sorrows and pains completely. The mind will go forwards to Factors of Enlightenment with helps of powerful mindfulness and awareness. Finally, practitioners will gain noble paths, fruits and Nibbana, being free from all sufferings which is the final goal of insight meditation practice.

๑. บทนำ
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้มนุษย์มีสติและสัมปชัญญะในการประพฤติปฏิบัติตน เพื่อไม่ให้เกิดความประมาท จนกระทั่งบรรลุประโยชน์อย่างยิ่ง ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุด คือความหลุดพ้น จากทุกข์ทั้งปวง เป็นการดับภพชาติหยุดการเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งเป็นธรรมที่พ้นไปจากสังสารวัฏ ด้วยวิธีการปฏิบัติตามแนวมหาสติปัฏฐาน ๔ แก่ภิกษุทั้งหลายชาวเมืองกุรุว่าเอกายโน อยํ
ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย
ายสฺส อธิคมาย
นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ จตฺตาโร สติปฏฺ
านา 
ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเดียว เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์ และ
โทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน ทางนี้คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ
๒. ปัญหาการวิจัย
ในสังคมปัจจุบัน มีปัญหาเกิดขึ้นมากมาย เพราะมนุษย์ตกอยู่ใต้กิเลส ทำให้ขาดสติและสัมปชัญญะ เพราะสติและสัมปชัญญะสำคัญที่สุดในการพัฒนาจิต
(จิตภาวนา) เพราะสติเป็นเครื่องรองรับสภาวธรรมทั้งหลายให้ปรากฏมีขึ้น จึงจะเกิดการศึกษาเรียนรู้สภาวธรรมที่ปรากฏได้ ถ้าขาดสติแล้วก็ไม่มีสภาวธรรมปรากฏกับจิต งานวิจัยนี้จะมีประโยชน์เกื้อกูลต่อผู้ใคร่ในการศึกษาและปฏิบัติ แก่บุคคลทั้งหลายสืบไป
๓. สรุปผลการวิจัย
สติและสัมปชัญญะ หมายถึง การระลึกรู้รูปนามในปัจจุบันขณะ คือ ความรู้ชัด เข้าใจชัดรูปนามในปัจจุบันขณะตามความเป็นจริง สติและสัมปชัญญะในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา เป็นการเจริญปัญญา คือ การอบรมสติปัญญาให้รู้แจ้งชัดสภาวธรรมต่างๆ คือ อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะในรูปนาม ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยอันสำคัญยิ่งในการบรรลุถึงจุดหมายในการดับทุกข์ ตามหลักสติปัฏฐาน ๔ มีองค์ธรรม คือ (อาตาปี) มีความเพียร (สัมปชาโน) มีสัมปชัญญะ (สติมา) มีสติ เป็นองค์คุณที่จะทำให้เห็นสภาวธรรมทั้งหลายที่ปรากฏตามความเป็นจริง สามารถกำจัดอภิชฌาและโทมนัส มีความเกี่ยวเนื่องกับอริยมรรคมีองค์ ๘ องค์ธรรม คือ วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา เป็นเครื่องประกอบการพิจารณาทางกาย เวทนา จิต และธรรม เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดวิปัสสนาปัญญา  มรรคญาณ และผลญาณ คือ การบรรลุมรรค ผล และนิพพาน

 ๔. ตารางเปรียบเทียบวิสุทธิ ๗ และญาณ ๑๖

ไตรสิกขา
วิสุทธิ ๗
ญาณ ๑๖
ศีล
๑. สีลวิสุทธิ
มีศีลบริสุทธ์

สมาธิ

๒. จิตตวิสุทธิ
ขณิกสมาธิมีรูปนามเป็นอารมณ์












ปัญญา

๓. ทิฏฐิวิสุทธิ
๑ นามรูปปริเฉทญาณ

๕. มัคคามัคญาณทัสสนวิสุทธิ
๓ สัมมสนญาณ
ตรุณอุทยัพพญาณ (อ่อน)






๖.ปฏิปทาญาณ
ทัสสนวิสุทธิ
๔ พลวอุทยัพพยญาณ (แก่)
๕ ภังคญาณ
๖ ภยญาณ
๗ อาทีนวญาณ
๘ นิพพิทาญาณ
๙ มุญจิตุกัมยตาญาณ
๑๐ ปฏิสังขาญาณ
๑๑ สังขารุเปกขาญาณ
๑๒ อนุโลมญาณ
ระหว่าง วิสุทธิ ๖ และ ๗
๑๓ โคตรภูญาณ

๗. ญาณทัสสน
วิสุทธิ
๑๔ มัคคญาณ
๑๕ ผลญาณ
๑๖ ปัจเวกขณญาณ

ไฟล์บทความpdf 
https://drive.google.com/file/d/1mZNSJMk_NDiVpul5dBzubvKQZStoQHQq/view?usp=sharing