วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558

ศรัทธา faithful



#สทฺธา บาลีอ่านว่า สัท-ธา  แปลว่า ความเชื่อ (ภาษาไทย เขียนอย่างสันสกฤตเป็น ศรัทธา) faithful
มีรูปวิเคราะห์/วจนัตถะ(ความหมาย) ว่า
วิ.  สมฺมา  จิตฺตํ  นิเธติ  เอตายาติ  สทฺธา.  (สํปุพฺพ + ธา  ธารเณ ในการทรงไว้ + อ + อา) (กรณสาธนะ)
    ย่อมตั้งไว้ ซึ่งจิต ด้วยดี ด้วยธรรมนี้ เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าสทฺธา.  (ธรรมชาติเป็นเครื่องตั้งจิตไว้ด้วยดี, ศรัทธา)
วิ.  สยํ  สทฺทหตีติ  สทฺธา.  (สํปุพฺพ + ธา  ธารเณ ในการทรงไว้ + อ + อา) (กัตตุสาธนะ)
     ย่อมเชื่อ เอง เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าสทฺธา.  (ศรัทธา, ความเชื่อ)
*สัทธา ความเชื่อ;
       ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริงความดีสิ่งดีงามและในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก
--------------------------------------
*ทำตัวตามแนวคัมภีร์ปทรูปสิทธิ
ทำตัวรูป สมฺมา จิตฺตํ นิเธติ เอตายาติ สทฺธา         ศัพท์เดิมคือ            = สํ + ธา  ธารเณ ในการทรงไว้
                                ตั้ง ธา ชื่อธาตุ                         สํ + ธา     = ภูวาทโย ธาตโว.
                             นิเธติ ย่อมตั้งไว้  จิตฺตํ ซึ่งจิต  สมฺมา ด้วยดี  เอตาย ด้วยธรรมนี้  อิติ อตฺเถ ในอรรถนี้
                               หลังจากธาตุ ลง อปัจจัยในอิตถีลิงค์   สํ + ธา + อ    = อิตฺถิยมติยโว วา.
                                ตั้ง อปัจจัย ชื่อว่ากิต              สํ + ธา + อ              = อญฺเญกิตฺ.
                                แปลง นิคหิต เป็น นฺ              ส   ํ > นฺ + ธา + อ   = วคฺคนฺตํ วา วคฺเค.
                                แปลง นฺ เป็น ทฺ                     ส   นฺ > ทฺ + ธา + อ = วชาทีหิ  ปพฺพชฺชาทโยฯ
                         แยกพยัญชนะ ธฺ ออกจากสระ อา    สทฺธฺ  อา + อ= ปุพฺพมโธฐิตมสฺสรํ สเรน วิโยชเย.
                ลบสระหน้า เพราะสระหลังๆ เป็นปกติ   สทฺธฺ  อา/ + อ      = สรโลโปมาเทสปฺปจฺจยาทิมฺหิฯ
                                นำพยัญชนะ ธฺ ไปประกอบกับสระ อ                สทฺธ        = นเย ปรํ ยุตฺเต.
                                หลังจากอการันต์ ลง อาปัจจัยอิตถีลิงค์ สทฺธ + อา        = อิตฺถิยมโต อาปจฺจโย.
                      แยกพยัญชนะ ธฺ ออกจากสระ อ     สทฺธฺ  อ + อา    = ปุพฺพมโธฐิตมสฺสรํ สเรน วิโยชเย.
               ลบสระหน้า เพราะสระหลังๆ เป็นปกติ  สทฺธฺ  /อ + อา     = สรโลโปมาเทสปฺปจฺจยาทิมฺหิฯ
                                นำพยัญชนะ ธฺ ไปประกอบกับสระ อา               สทฺธา      = นเย ปรํ ยุตฺเต.
                                ตั้ง สทฺธา เป็น นาม                        สทฺธา      =   จศัพท์ใน ตทฺธิตสมาสกิตกาฯ
                                หลัง สทฺธา ลง สิปฐมาวิภัตติ            สทฺธา + สิ               = ลิงฺคตฺเถ ปฐมา.
                                ลบ สิวิภัตติ                            สทฺธา + /สิ              = เสสโต โลปํ คสิปิ.
                                                สำเร็จรูปเป็น  สทฺธา. (ธรรมชาติเป็นเครื่องตั้งจิตไว้ด้วยดี, ศรัทธา)
---------------------------------------------
*ศรัทธาในทางพระพุทธศาสนามีสี่อย่าง คือ
1.กัมมสัทธา เชื่อกรรม เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง คือ เชื่อว่า เมื่อทำอะไรโดยมีเจตนา คือ จงใจทำทั้งรู้ ย่อมเป็นกรรม คือ เป็นความชั่วความดีมีขึ้นในตน เป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดผลดีผลร้ายสืบเนื่องต่อไป การกระทำไม่ว่างเปล่า และเชื่อว่าผลที่ต้องการ จะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ มิใช่ด้วยอ้อนวอนหรือนอนคอยโชค เป็นต้น
2.วิปากสัทธา เชื่อวิบาก เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง คือ เชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วย่อมมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว
3.กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบาก เป็นไปตามกรรมของตน
4.ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มั่นใจในองค์พระตถาคต ว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงพระคุณทั้ง 9 ประการ ตรัสธรรม บัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ คือเราทุกคนนี้ หากฝึกตนด้วยดีก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุด บริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ทรงบำเพ็ญไว้
------------------------------------------
*ศรัทธา หรือ สัทธา เป็นองค์ประกอบในหลายๆหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่
พละ ๕ และ อินทรีย์ ๕ (สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา)
สมชีวิธรรม ๔ (สมสัทธา สมสีลา สมจาคา สมปัญญา)
เวสารัชชกรณธรรม ๕ (ศรัทธา ศีล พาหุสัจจะ วิริยารัมภะ ปัญญา)
อริยวัฑฒิ หรือ อารยวัฑฒิ ๕ (ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา)
อริยทรัพย์ ๗ (ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา)
สัปปุริสธรรม ข้อแรก คือ สัทธัมมสมันนาคโต ประกอบด้วยธรรมเจ็ดประการ อันได้แก่ มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ เป็นพหูสูต มีความเพียรอันปรารภแล้ว มีสติมั่นคง มีปัญญา
*หมายเหตุ
จะเห็นว่าส่วนใหญ่ จะขึ้นด้วยศรัทธา และมีปัญญากำกับอยู่ด้วย
---------------------------
*สัทธาเจตสิก
ในคัมภีร์พระอภิธรรม มีการกล่าวถึงสัทธา ในลักษณะที่เป็นเจตสิก (คือ ธรรมชาติที่อาศัยจิตเกิด) เรียกว่า สัทธาเจตสิก มีลักษณะดังนี้ คือ
มีความเชื่อในกุศลธรรม เป็นลักษณะ
มีความเลื่อมใส เป็นกิจ
มีความไม่ขุ่นมัว เป็นผล
มีวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเชื่อ เป็นเหตุใกล้
สัทธานี้จัดเป็นธรรมเบื้องต้น ในอันที่จะทำให้บุคคล ได้ประกอบคุณงามความดี เป็นบุญกุศลขึ้นมา และสัทธาที่จะเกิดขึ้นได้นั้น ย่อมต้องอาศัยวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเชื่อ ได้แก่ พระรัตนตรัย ผลของกรรม เป็นต้น สัทธานั้นเมื่อเกิดขึ้นย่อมทำให้เกิดความผ่องใส ไม่ขุ่นมัว สามารถดำเนินไปจนเข้าถึงปีติได้
--------------------------------------------
*เหตุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสศรัทธา ได้แก่
1.รูปปฺปมาณ เลื่อมใสศรัทธาเพราะเห็นรูปสมบัติสวยงาม
2.ลูขปฺปมาณ เลื่อมใสศรัทธาเพราะเห็นความประพฤติเรียบร้อยเคร่งในธรรมวินัย
3.โฆสฺปปมาณ เลื่อมใสศรัทธาเพราะได้ฟังเสียงอันไพเราะ
4.ธมฺมปฺปมาณ เลื่อมใสศรัทธาเพราะได้สดับฟังธรรมของผู้ที่ฉลาดในการแสดง

------------------------------------


#ตัวอย่างผู้บรรลุธรรมด้วยศรัทธา
วักกลิ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์ชาวพระนครสาวัตถี เรียนจบไตรเพทตามลัทธิพราหมณ์ บวชในพระพุทธศาสนา ด้วยความอยากเห็นพระรูปพระโฉมของพระศาสดา
       ครั้นบวชแล้วก็คอยติดตามดูพระองค์ตลอดเวลา จนไม่เป็นอันเจริญภาวนา
       พระพุทธเจ้าทรงรอเวลาให้ญาณของเธอสุกงอม ครั้นแล้วก็ตรัสเตือนเธอว่า
           “จะมีประโยชน์อะไรที่ได้เห็นกายเปื่อยเน่านี้ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราดังนี้เป็นต้น
       และทรงสอนต่อไปด้วยอุบายวิธี จนในที่สุดพระวักกลิก็ได้สำเร็จพระอรหัต
       และต่อมาได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่า เป็นเอตทัคคะในทางศรัทธาวิมุต คือ หลุดพ้นด้วยศรัทธา
----------------------------------
สิคาลมาตา พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง
       เป็นธิดาเศรษฐีในพระนครราชคฤห์ เจริญวัยแล้ว แต่งงาน มีบุตรคนหนึ่งชื่อ สิงคาลกุมาร
       วันหนึ่งได้ฟังธรรมีกถาของพระศาสดา มีความเลื่อมใส (คัมภีร์อปทานว่า ได้ฟังสิงคาลกสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่บุตรของนาง ซึ่งว่าด้วยเรื่องอบายมุข มิตรแท้ มิตรเทียม ทิศ ๖ เป็น และได้บรรลุโสดาปัตติผล) ขอบวชเป็นภิกษุณี
       ต่อมาได้ไปฟังธรรมเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดง นางคอยตั้งตาดูพระพุทธสิริสมบัติด้วยศรัทธาอันแรงกล้า พระพุทธองค์ทรงทราบกับอัธยาศัยของนาง นางส่งใจไปตามกระแสพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุพระอรหัต
       ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางศรัทธาธิมุต,
       สิคาลกมาตา หรือ สิงคาลมาตา ก็เรียก
--------------------------------
อุบลวรรณา พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง เป็นธิดาเศรษฐีในพระนครสาวัตถี
       ได้ชื่อว่า อุบลวรรณา เพราะมีผิวพรรณดังดอกนิลุบล (อุบลเขียว) มีความงามมาก จึงเป็นที่ปรารถนาของพระราชาในชมพูทวีปหลายพระองค์ ต่างส่งคนมาติดต่อ
       ท่านเศรษฐีเกิดความลำบากใจ จึงคิดจะให้ธิดาบวชพอเป็นอุบาย แต่นางเองพอใจในบรรพชาอยู่แล้ว จึงบวชเป็นภิกษุณีด้วยศรัทธาอย่างจริงจัง
       คราวหนึ่งอยู่เวรจุดประทีปในพระอุโบสถ นางเพ่งดูเปลวประทีป ถือเอาเป็นนิมิต เจริญฌานมีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ ได้บรรลุพระอรหัต
       ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ และเป็นอัครสาวิกาฝ่ายซ้าย
------------------------------------
*อ้างอิง
คัมภีร์ปทรูปสิทธิ
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม".

"พระอภิธัมมัตถสังคหะ".และ"อภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา".