วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

#การตั้งชื่อ

ชื่อนั้นสำคัญไฉน...?
#บาฬี เรียกว่า นาม (นา-มะ)
คำว่า นามแปลว่า ชื่อ (Nouns) เป็นชื่อของคน สัตว์ ที่ สิ่งของ เป็นต้น มีวิเคราะห์ว่า 
วิ. อตฺถํ นมตีติ นามํ. (นมุ+ณ)
ย่อมน้อมไปสู่ความหมาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่านาม.
ตามวิเคราะห์นี้พึงเห็นตัวอย่าง เช่น ปุริสศัพท์ ย่อมน้อม ไปสู่ทัพพะ คือ บุรุษ หมายความว่า เมื่อกล่าวคำว่า ปุริสก็ทำให้นึกถึงรูปร่างลักษณะของผู้ชาย
หรือวิเคราะห์ว่า 
วิ. อตฺตนิ อตฺถํ นาเมตีติ นามํ. (นมุ+ณ) 
ย่อมยังความหมายให้น้อมมาในตน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่านาม.
ตามวิเคราะห์นี้ เป็นการกล่าวกลับอีกนัยหนึ่ง พึงเห็นตัวอย่าง เช่น ปุริสศัพท์นี้ ย่อมดึงเอาความหมายของบุรุษมาไว้ในตน หมายความว่า คำว่า ปุริสนี้ สามารถอธิบายลักษณะของบุรุษได้ทั้งหมด เพราะความหมายของบุรุษอยู่ใน ปุริสศัพท์
(
ผู้พูด/ผู้ฟัง)

--------------------

ญาตกา ตสฺส "สิทฺธตฺโถติ (วจนํ) นามํ กรึสุ.
แปล: อ.พระญาติ ท. กระทำแล้ว ซึ่งคำว่า สิทธัตถะ ดังนี้ ให้เป็นชื่อ แก่กุมารนั้น.
สัมพันธ์ : ญาตกา สุทธกัตตา(สยกัตตา) ใน กรึสุๆ อาขยาตบทกัตตุวาจก ตสฺส วิเสสนะ ของ กุมารสฺสๆ สัมปทาน ใน กรึสุ
สิทฺธตฺโถ ลิงคัตถะ อิติศัพท์ สรูปะ ใน วจนํๆ อวุุตตกัมมะ ในกรึสุ นามํ วิกติกัมมะ ในกรึสุ

--------------------
กิร มีเรื่องเล่ามาว่า...
ที่วัดแห่งหนึ่ง
มีหลวงตารูปหนึ่ง
อยู่มาวันหนึ่ง
ได้มีสองสามีภรรยา เดินทางมาขอพบกับหลวงตา เพื่อจะให้พระท่านตั้งชื่อลูกให้ เพราะทางญาติทั้งสองฝ่าย ตกลงกันไม่ได้ต่างก็อยากจะตั้งชื่อให้เป็นสิริมงคล เมื่อมาถึงวัด ก็เริ่มสนทนา

"กราบนมัสการเจ้าค่ะ ดิฉันกับสามีอยากจะให้หลวงตาช่วยตั้งชื่อลูกให้หน่อยค่ะ เห็นเค้าบอกว่าถ้าพระตั้งชื่อลูกให้แล้วจะเป็นมงคล"

"เจริญพร " หลวงตาตอบ
 
หลวงตาคิดในใจ "เราก็ไม่เคยตั้งชื่อให้ใครสะด้วย บาลง บาลี ก็ไม่ได้เรียน จะทำไงดีทีนี้ เอาว่ะเพื่อความสบายใจของญาติโยม)

"เออ!!! แล้วโยมทั้งสองชื่ออะไร กันบ้างละ?" หลวงตาถาม

"ชื่อ อัปสร เจ้าค่ะ" ภรรยาตอบ

"แล้วโยมผู้ชายละ ชื่ออะไร" หลวงตาถาม

"ชื่อ ปรีดา ขอรับ" ฝ่ายสามีตอบ

หลวงตาคิดในใจ " เอาว่ะ ไหนๆ ก็ไหนๆแล้ว เพื่อให้สบายใจทั้งสองฝ่าย แม่ชื่ออัปสร พ่อชื่อปรีดา คิดๆๆ ได้แล้ว"

"แม่ชื่ออัปสร พ่อชื่อปรีดา เพื่อให้สบายใจทั้งสองฝ่าย เอาอย่างนี้นะ เอาชื่อต้นทั้งสองมาตั้ง ให้ชื่อว่า.. อัปปรี.. ก็แล้วกัน.."

"สาธุๆๆ" ทั้งสองรับคำ

หลังจากนั้น ก็กราบลาหลวงตา ทั้งสองก็คิดดีใจว่า พระตั้งชื่อให้ลูกเรา เป็นศิริมงคล พากันท่องว่า "อัปปรีๆๆๆๆๆๆ" ไปตลอดทางจนมาถึงบ้าน ก็มาแจ้งให้ญาติๆ ฟังว่า

"หลวงตา ตั้งชื่อลูกให้เป็นมงคลมากเลยว่า.. อัปปรี.."สองสามีภรรยากล่าว

ทีนั้นแหละ ความโกลาหลก็เกิดขึ้น ญาติๆทั้งสองฝ่ายพร้อม ก็พากันยกขบวนจะไปหาหลวงตา

"หลวงตา ทำไมถึงตั้งชื่อ อัปปรี อย่างนี้" ญาติๆกล่าวเสียงแข็ง

หลวงตาคิดในใจ "เอาละสิ!!! งานนี้คงไม่ได้แห่กันมาทำบุญหรอกนะ"

"เจริญพรโยมทั้งหลาย ทำไมละ ก็เอาพยางค์แรก ของทั้งคู่มาตั้งก็ดีแล้วนิ อัปปรี นะ" หลวงตาตอบเบาๆ

เหล่าญาติๆไม่ยอม ขอให้พระตั้งให้ใหม่บอกว่าเป็น อัปมงคล ชื่อว่า อัปปรี ไม่เคยมีใครเค้าตั้งกัน

"ไม่เอาๆๆ หลวงพ่อต้องตั้งให้ใหม่ ไม่งั้นมีเรื่อง" ญาติๆกล่าว

"ใจเย็นๆ โยมทั้งสอง มีลูกกี่คน?" หลวงตาถาม

"ลูกสาวทั้งสามคนเลยเจ้าค่ะ/ขอรับ " ช่วยกันตอบ

หลวงตาคิดในใจ " เอ๋ เอาไงดีเนี้ย เคยแอบเปิดดูหนังสือคู่มือพระอุปัฌาย์ ก็จำไม่ได้สะด้วย แต่เมื่อเช้าเห็นเณร พากันท่องบาลีอยู่นี่หน๋า ว่า ปฐมาที่หนึง ทุติยาที่สอง ตติยาที่สาม.....ได้การละ"

"เอาอย่างนี้ ก็แล้วกัน เปลี่ยนทั้งสามคนเลย จะได้เป็น มงคลทั้งหมด 
คนโตให้ ชื่อว่า ปฐมาพร
คนที่สอง ชื่อว่า ทุติยาพร
คนสุดท้องเกิดใหม่ ชื่อว่า ตติยาพร ก็แล้วกันนะ"

" สาธุๆๆๆ"
-----------
#คัมภรี์วุตโตทยมัญชรี แสดงไว้ว่า(ดูภาพประกอบ)
รวมความว่า
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจของคณะฉันท์สักนิดหนึ่ง
#ฉันท์ แปลว่า ปกปิดโทษ คือ ปกปิดความไม่ไพเราะ (ในการสวดเป็นต้น)
คำประพันธ์ร้อยแก้วต่างๆ ถึงแม้จะมีความหมายดี มีคุณค่า แต่เมื่อนำมาสวดแบบสรภัญญะ เป็นต้น ฟังแล้วย่อมไม่ไพเราะ เพราะไม่มีรูปแบบ ลีลา ของถ้อยคำที่แน่นอน เป็นจังหวะจะโคน ผนวกกับท่วงทำนองในการสวด อันจะช่วยโน้มน้อมจิตของผู้รับฟังให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสเพิ่มขึ้นได้ ต่อเมื่อกำหนดจำนวนคำของแต่ละบาท แต่ละวรรค ทั้งเสียงสั้นเสียงยาว เสียงหนักเสียงเบา อันเป็นคำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง แล้ว การสวดสรภัญญะเป็นต้นนั้น ย่อมไพเราะ น่าฟัง ชวนติดตามยิ่งขึ้น
#ฉันท์ มีวิเคราะห์ว่า อวชฺชํ ฉาเทตีติ ฉนฺทํ ธรรมชาตที่ปกปิดเสียซึ่งโทษ เรียกว่า ฉันท์
#ฉันท์ มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น พันธะ คาถา วุตติ (พฤติ) ซึ่งใช้เป็นไวพจน์ของกันได้
#ฉันท์วรรณพฤติ (วณฺณวุตฺติ) คือ ฉันท์ที่กำหนดจำนวนพยางค์ (อักษร/คำ) ในบาทหนึ่งๆ เช่น ปัฐยาวัตร บาทละ 8 พยางค์, อินทรวิเชียร 11 พยางค์ เป็นต้น
#ฉันท์มาตราพฤติ (มตฺตาวุตฺติ) คือ ฉันท์ที่กำหนดมาตรา คือจำนวนครุลหุ ในบาทหนึ่ง
คณะ คือ กลุ่มคำที่ประกอบด้วยด้วยครุและลหุ
#คณะฉันท์วรรณพฤติ มีคณะละ 3 พยางค์ มีทั้งหมด 8 คณะ
(
ชื่อคณะ และสัญลักษณ์) ดังนี้ คือ
ม =222 (ครุล้วน)
น =111 (ลหุล้วน)
ภ =211 (ครุหน้า)
ย =122 (ลหุหน้า)
ช =121 (ครุกลาง)
ส =112 (ครุท้าย)
ร =212 (ลหุกลาง)
ต =221 (ลหุท้าย)
สพฺพญฺญู โม สุมุนิ โน สุคโต โส มุนินฺท โช
มาราริ โต มารชิ โภ นายโก โร มเหสี โย




มีคณะละ 4 มาตรา(นับมาตรา) มีทั้งหมด 5 คณะ
ภ=211
ช=121
ส=112
สัพพครุ=22
สัพพลหุ=1111


------------------
#กล่าวรวมสรุปความการตั้งชื่อ
ในคัมภรี์วุตโตทยมัญชรีดังนี้
ลำดับแรกแสดงคณะ
1.
อิฏฐคณะ คณะดี คือ ม,,,ย คณะ
2.
อนิฏฐคณะ คณะไม่ดี คือ ช,,,ต คณะ

ทั้งนี้คณะก็ไม่สำคัญมีอีกนัยหนึ่ง คือ
ให้ตั้งอักษรตามวันเกิด
สระ 8 ตัว เป็นอักษรแรก ของ คนเกิดวันอาทิตย์
,,,ง ......................................วันจันทร์
,,,,ญ ......................................วันอังคาร
,,,ว ......................................วันพุธ
,,,,ม ......................................วันพฤหัสบดี
,ห ......................................วันศุกร์
,,,,ณ ......................................วันเสาร์
,,,,น .......................................วันเสาร์

ชื่อที่ลงคณะต่างๆจะมีผลทั้งดีและไม่ดี
อย่างไรก็ตาม การตั้งชื่อของโบราณาจารย์ มิให้ถือโดยเคร่งครัด
แม้พระพุทธเจ้า พระองค์ก็ทรงเน้นกรรมปัจจุบันเป็นหลัก ทรงตรัสไว้ใน นักขัตตชาดก ว่า

นกฺขตฺตํ ปฏิมาเนนฺตํ อตฺโถ พาลํ อุปจฺจคา
อตฺโถ อตฺถสฺส นกฺขตฺตํ กึ กริสฺสนฺติ ตารกา.(ขุ. ชา.๒๗/๔๙/๑๒)
ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนเขลาที่รอคอยดวงดาวอยู่
ประโยชน์เป็นฤกษ์ของบุคคลผู้แสวงหาประโยชน์ (คือถ้าได้ประโยชน์ก็ถือว่าฤกษ์ดี) ดวงดาวจะกระทำอะไรได้


-----------------
ป.ล.ขอบคณข้อมูลรูปภาพจากหนังสือและเว็บ
ตอบคำถาม: เอกปุริโส บุคคลคนหนึ่ง
(
จริงๆมีหลายท่านถามมา)
*ชื่อเปลี่ยนได้ แต่กรรมเปลี่ยนไม่ได้
กมฺมุนา วตฺตติ โลโก. 
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
Animal Planet will follow the action.
mk007
14/5/59


#เพจพระบาฬี : เรียนภาษาพระพุทธเจ้า เข้าใจธรรมะ ละความเห็นผิด ใกล้ชิดปฏิเวธ.ฯ

#pra pali page: Learn Buddha's language, understand the Dhamma, let go of the wrong view, get closer to the enlightenment.etc.
--------------------------
#ดูข้อมูล คลิก






วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559

วิปัสสนา

วิปัสสนาและภาษาบาฬี

#เพจพระบาฬี : เรียนภาษาพระพุทธเจ้า เข้าใจธรรมะ ละความเห็นผิด ใกล้ชิดปฏิเวธ.ฯ

#pra pali page: Learn Buddha's language, understand the Dhamma, let go of the wrong view, get closer to the enlightenment.etc.
--------------------------
#ดูข้อมูล คลิก