วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

‪#‎สติ‬ mindfulness


#‎สติ‬ ภาษาไทยอ่านว่า สะ-ติ
(ความระลึกได้, นึกได้, สำนึกอยู่ไม่เผลอ - mindfulness)

*คัมภีร์ปทรูปสิทธิ(กัจจายนะ) ท่านให้ความหมายวิเคราะห์และการทำตัวรูปไว้ว่า

วิ. สรณํ สติ. (สร คติจินฺตายํ ในการไปและการคิด + ติ) (ภาวสาธนะ)
อ.ความระลึกได้ ชื่อว่าสติ. (ความระลึกได้)

วิ. สรติ เอตายาติ สติ. (สร คติจินฺตายํ ในการไปและการคิด + ต) (กรณสาธนะ)
ย่อมระลึกได้ ด้วยธรรมชาตินั่น เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าสติ. (ธรรมชาติเป็นเครื่องระลึก)

ทำตัวรูป สรติ เอตายาติ สติ ศัพท์เดิมคือ = สร คติจินฺตายํ ในการไปและการคิด
ตั้ง สร ชื่อธาตุ สร = ภูวาทโย ธาตโว.
ลบสระที่สุดของธาตุ สรฺ /อ = ธาตุสฺสนฺโต โลโปเนกสฺสรสฺส.
สรติ ย่อมระลึกได้ เอตาย (ธมฺมชาติยา) ด้วยธรรมชาตินั่น อิติ อตฺเถ ในอรรถนี้
หลังจากธาตุ ลง ติปัจจัยในอรรถกรณะ สรฺ + ติ = อิตฺถิยมติยโว วา.
ตั้ง ติปัจจัย ชื่อกิต สรฺ + ติ = อญฺฺเญกิตฺ.
เพราะติปัจจัย ลบพยัญชนะที่สุดธาตุ ส /รฺ + ติ = รกาโร จ.
ตั้ง สติ เป็นนาม สติ = ตทฺธิตสมาสกิตกา นามํวาฯ
หลัง สติ ลง สิปฐมาวิภัตติ สติ + สิ = ลิงฺคตฺเถ ปฐมา.
ลบ สิวิภัตติ สติ + /สิ = เสสโต โลปํ คสิปิ.
สำเร็จรูปเป็น สติ. (ธรรมชาติเป็นเครื่องระลึก)
---------------------
มีวิเคราะห์จากหนังสือ ศัพท์วิเคราะห์ ของพระมหาโพธิวงศาจารย์(ทองดี) ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต อีกว่า
วิ. ปมาทํ สรติ หึสตีติ สติ.(สร หึสายํ ในความเบียนเบียน + อ)(กัตตุสาธนะ)
----------------------

‪#‎หมวดธรรม‬ ที่เกี่ยวข้องกับ สติ เช่น..

[25] ธรรมมีอุปการะมาก 2 (ธรรมที่เกื้อกูลในกิจหรือในการทำความดีทุกอย่าง - virtues of great assistance)
1. สติ (ความระลึกได้, นึกได้, สำนึกอยู่ไม่เผลอ - mindfulness)
2. สัมปชัญญะ (ความรู้ชัด, รู้ชัดสิ่งที่นึกได้, ตระหนัก, เข้าใจชัดตามความเป็นจริง - clear comprehension)
*อ้างอิง
D.III.273;
A.I.95. ที.ปา. 11/378/290;
องฺ.ทุก. 20/424/119
--------------------
[182] สติปัฏฐาน 4 (ที่ตั้งของสติ, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง คือ ตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมันเอง - foundations of mindfulness)

1. กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณากายให้รู้เห็นตามเป็นจริง ว่า เป็นเพียงกาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา - contemplation of the body; mindfulness as regards the body) ท่านจำแนกปฏิบัติไว้หลายอย่าง คือ อานาปานสติ กำหนดลมหายใจ 1 อิริยาบถ กำหนดรู้ทันอิริยาบถ 1 สัมปชัญญะ สร้างสัมปชัญญะในการกระทำความเคลื่อนไหวทุกอย่าง 1 ปฏิกูลมนสิการ พิจารณาส่วนประกอบอันไม่สะอาดทั้งหลายที่ประชุมเข้าเป็นร่างกายนี้ 1 ธาตุมนสิการ พิจารณาเห็นร่างกายของตนโดยสักว่าเป็นธาตุแต่ละอย่างๆ 1 นวสีวถิกา พิจารณาซากศพในสภาพต่างๆ อันแปลกกันไปใน 9 ระยะเวลา ให้เห็นคติธรรมดาของร่างกาย ของผู้อื่นเช่นใด ของตนก็จักเป็นเช่นนั้น 1

2. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา - contemplation of feelings; mindfulness as regards feelings) คือ มีสติรู้ชัดเวทนาอันเป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉยๆ ก็ดี ทั้งที่เป็นสามิส และเป็นนิรามิสตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ

3. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงจิต ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา - contemplation of mind; mindfulness as regards thoughts) คือ มีสติรู้ชัดจิตของตนที่มีราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ เศร้าหมองหรือผ่องแผ้ว ฟุ้งซ่านหรือเป็นสมาธิ ฯลฯ อย่างไรๆ ตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ

4. ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา - contemplation of mind-objects; mindfulness as regards ideas) คือ มีสติรู้ชัดธรรมทั้งหลาย ได้แก่ นิวรณ์ 5 ขันธ์ 5 อายตนะ 12 โพชฌงค์ 7 อริยสัจ 4 ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น เจริญบริบูรณ์ และดับไปได้อย่างไร เป็นต้น ตามที่เป็นจริงของมันอย่างนั้นๆ.
*อ้างอิง
D.II.290.315. ที.ม. 10/273-300/325-351.
-------------------------
[335] อนุสติ 10 (ความระลึกถึง, อารมณ์อันควรระลึกถึงเนืองๆ — recollection; constant mindfulness)
1. พุทธานุสติ (ระลึกถึงพระพุทธเจ้า คือ น้อมจิตระลึกถึงและพิจารณาคุณของพระองค์ — recollection of the Buddha; contemplation on the virtues of the Buddha)
2. ธัมมานุสติ (ระลึกถึงพระธรรม คือ น้อมจิตระลึกถึงและพิจารณาคุณของพระธรรม — recollection of the Dhamma; contemplation on the virtues the Doctrine)
3. สังฆานุสติ (ระลึกถึงพระสงฆ์ คือ น้อมจิตระลึกถึงและพิจารณาคุณของพระสงฆ์ — recollection of the Sangha; contemplation on the virtues of the Order)
4. สีลานุสติ (ระลึกถึงศีล คือ น้อมจิตรำลึกพิจารณาศีลของตนที่ได้ประพฤติปฏิบัติบริสุทธิ์ไม่ด่างพร้อย — recollection of morality; contemplation on one’s own morals)
5. จาคานุสติ (ระลึกถึงการบริจาค คือ น้อมจิตระลึกถึงทานที่ตนได้บริจาคแล้ว และพิจารณาเห็นคุณธรรมคือความเผื่อแผ่เสียสละนี้ที่มีในตน — recollection on liberality; contemplation on one’s own liberality)
6. เทวตานุสติ (ระลึกถึงเทวดา คือ น้อมจิตระลึกถึงเทวดาทั้งหลายที่ตนเคยรู้และพิจารณาเห็นคุณธรรมอันทำบุคคลให้เป็นเทวดานั้นๆ ตามที่มีอยู่ในตน — recollection of deities; contemplation on the virtues which make people become gods as can be found in oneself)
7. มรณสติ (ระลึกถึงความตายอันจะต้องมีมาถึงตนเป็นธรรมดา พิจารณาที่จะให้เกิดความไม่ประมาท — mindfulness of death; contemplation on death)
8. กายคตาสติ (สติอันไปในกาย คือ กำหนดพิจารณากายนี้ ให้เห็นว่าประกอบด้วยส่วนต่างๆ อันไม่สะอาด ไม่งาม น่ารังเกียจ เป็นทางรู้เท่าทันสภาวะของกายนี้ มิให้หลงใหลมัวเมา — mindfulness occupied with the body; contemplation on the 32 impure parts of the body)
9. อานาปานสติ (สติกำหนดลมหายใจเข้าออก — mindfulness on breathing)
10. อุปสมานุสติ (ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบ คือ ระลึกถึงและพิจารณาคุณของพระนิพพาน อันเป็นที่ระงับกิเลสและความทุกข์ — recollection of peace; contemplation on the virtue of Nibbana)
*อ้างอิง
A.I.30, 41;
Vism.197. องฺ.เอก. 20/179-180/39-40; 224/54;
วิสุทธิ. 1/251.
----------------------

‪#‎ในคัมภีร์‬ พระอภิธัมมัตถสังคหะ
ท่านจัด สติ เป็น สติเจตสิก ไว้ดังนี้

สติเจตสิก
๒. สติเจตสิก คือความระลึกรู้อารมณ์และยับยั้งมิให้จิตตกไปในอกุสล ความระลึกอารมณ์ที่เป็นกุสล ความระลึกได้ที่รู้ทันอารมณ์
สติ เป็นธรรมที่มีอุปการะมากต้องใช้สติต่อเนื่องกันตลอดเวลา ในทางเจริญวิปัสสนาหรือเจริญสมาธิ มุ่งทางปฏิบัติซึ่งเป็นทางสายเดียวที่จะหลุดพ้นจากกิเลสไปได้ โดยเจริญสติปัฏฐานทาง กาย เวทนา จิต ธรรม มีสติระลึกรู้อยู่เนื่อง ๆ ว่า กายมีปฏิกูล ฯลฯ สติมีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
อปิลาปนลกฺขณา มีความระลึกได้ในอารมณ์เนืองๆคือมีความไม่ประมาท เป็นลักษณะ
อสมฺโมหรสา มีการไม่หลงลืม เป็นกิจ
อารกฺขปจฺจุปฏฺฐานา มีการรักษาอารมณ์ เป็นผล
ถิรสญฺญาปทฏฺฐานา มีการจำได้แม่นยำ เป็นเหตุใกล้
สติเป็นเครื่องชักนำใจให้ยึดถือกุสลธรรมเป็นอุดมคติ ถ้าหากว่าขาดสติเป็นประธานเสียแล้ว
สมาธิก็ไม่สามารถจะมีได้เลย และเมื่อไม่มีสมาธิแล้ว ปัญญาก็เกิดไม่ได้

*เหตุให้เกิดสติ โดยปกติมี ๑๗ ประการ คือ

(๑) ความรู้ยิ่ง เช่น สติของบุคคลที่ระลึกชาติได้พระพุทธองค์ระลึกชาติได้ไม่จำกัดชาติจะระลึกได้ทุกชาติที่พระองค์ปรารถนา สติของพระอานนท์จำพระสูตรที่พระพุทธจ้าตรัสไว้ได้หมด

(๒) ทรัพย์ เป็นเหตุให้เจ้าของทรัพย์มีสติ คือเมื่อมีทรัพย์มักจะเก็บรักษาไว้อย่างดี และจะระมัดระวังจด
จำไว้ว่าตนเก็บทรัพย์ไว้ที่ใด

(๓) สติเกิดขึ้นเนื่องจากเกิดเหตุการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต เช่น พระโสดาบันจะจำได้โดยแม่นยำถึงเหตุการณ์ที่ท่านได้บันลุเป็นพระโสดาบัน หรือบุคคลที่ได้รับยศยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในชีวิต

(๔) สติเกิดขึ้น โดยระลึกถึงเหตุการณ์ที่ตนได้รับความสุขที่ประทับใจ เมื่อนึกถึงก็จะจำเรื่องต่าง ๆ ได้

(๕) สติเกิดขึ้น เนื่องจากความทุกข์ที่ได้รับเมื่อระลึกถึงก็จะจดจำได้

(๖) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกับเหตุการณ์ที่ตนเคยประสบ

(๗) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเหตุการณ์ที่ตรงกันข้ามกับที่เคยประสบ

(๘) สติเกิดขึ้น เพราะคำพูดของคนอื่น เช่น มีคนเตือนให้เก็บทรัพย์ที่ลืมไว้

(๙) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเครื่องหมายที่ตนทำไว้ เช่น เห็นหนังสือที่เขียนชื่อไว้ถูกลืมไว้

(๑๐) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเรื่องราวต่าง ๆ หรือผลงาน เช่น เห็นพุทธประวัติก็ระลึกถึงองค์
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น

(๑๑) สติเกิดขึ้น เพราะความจำได้ เช่น มีการนัดหมายไว้ เมื่อมองไปที่กระดานก็จำได้ว่าต้องไปตามที่ได้นัดไว้

(๑๒) สติเกิดขึ้น เพราะการนับ เช่น การเจริญสติระลึกถึงพระพุทธคุณ ก็ใช้นับลูกประคำ เพื่อมิให้ลืม

(๑๓) สติเกิดขึ้น เพราะการทรงจำเรื่องราวต่าง ๆ ที่ศึกษาค้นคว้า แล้วจำเรื่องราวต่าง ๆ ได้

(๑๔) สติเกิดขึ้น เพราะการระลึกชาติได้ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง (บุคคลที่มิใช่พระพุทธเจ้า)

(๑๕) สติเกิดขึ้น เพราะการบันทึกไว้ เมื่อดูบันทึกก็จำได้

(๑๖) สติเกิดขึ้น เพราะทรัพย์ที่เก็บได้เช่นเห็นทรัพย์ก็นึกขึ้นได้ว่าได้เก็บทรัพย์ไว้

(๑๗) สติเกิดขึ้น เพราะสิ่งที่เคยพบเคยเห็นมาแล้ว เมื่อเห็นอีกครั้งก็ระลึกได้
-------------------
*ที่มา
http://www.thepathofpurity.com/

--------------------

*สติ แปลว่า ความระลึกได้ ความนึกขึ้นได้ ความไม่เผลอ ฉุกคิดขึ้นได้ การคุมจิตไว้ในกิจ หมายถึง อาการที่จิตนึกถึงสิ่งที่จะทำจะพูดได้ นึกถึงสิ่งที่ทำคำที่พูดไว้แล้วได้ เป็นอาการที่จิตไม่หลงลืม ระงับยับยั้งใจได้ ไม่ให้เลินเล่อพลั้งเผลอ ป้องกันความเสียหายเบื้องต้นยับยั้งชั่งใจไม่บุ่มบ่าม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความไม่ประมาท

สติ เป็นธรรมมีอุปการะมาก คือทำให้ตื่นตัวอยู่เสมอ เป็นเจตสิกชนิดหนึ่ง สตินั้นหากนำมาใช้กับทางโลกทั่วไปก็ย่อมมีประโยชน์มหาศาลอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการงาน ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ การคิดอ่านย่อมเป็นระบบ จิตย่อมมีสมาธิในการทำกิจการงานใด ๆ อารมณ์มักจะเป็นปกติ ไม่ค่อยโกรธ เครียด หรือทุกข์ใจอะไรมาก ๆ กล่าวโดยรวมคือย่อมเกื้อกูลชีวิตประจำวันทางโลกได้อย่างดีซึ่งเป็นประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจน ถ้ารู้เนือง ๆ มาก ๆ เข้าจนเป็นมหาสติ ก็จะได้ประโยชน์จากทางธรรมด้วย การที่เรามีสติอยู่เนือง ๆ รู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง ทำอย่างติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ก็เพื่อให้สติเกื้อกูลต่อการ “เห็นความจริง” ความจริงนี้เป็นสิ่งที่ใกล้ตัวที่สุดก็คือกายกับใจจุดหมายของการรู้ก็เพื่อให้เห็นความจริง อันได้แก่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ว่ากายและใจของเรานั้นเป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวเรา

สติ เป็นคุณธรรมที่เกิดเองไม่ได้ ต้อง ทำให้เกิดขึ้นด้วยการฝึกฝนรวบรวมจิตใจให้นิ่งแน่วด้วยวิธีต่างๆ เช่นการเจริญวิปัสสนาคือการฝึกตามมหาสติปัฏฐานสูตร ทำสมาธิ สวดมนต์ ภาวนาคือให้มีความรู้สึกตัวผ่านอายตนะทั้ง 6

สติ มีใช้ในอีกหลายความหมาย เช่น กำหนดรู้ ตระหนักรู้ ระลึกรู้ สัมผัสรู้ รู้สึกตัว และอื่นๆ ที่ใช้ในความหมายการทำความกำหนดรู้สึกตัวในปัจจุบันต่อผัสสะใดๆที่เกิดขึ้นมาเพื่อให้กำหนดรู้เฉพาะหน้า ให้เท่าทันต่อสัมผัสตามความเป็นจริงต่อสิ่งที่ปรากฏขึ้นมา ให้จิตเป็นอิสระต่อสิ่งที่มากระทบในฐานะเป็นเพื่อผู้เฝ้ารู้เฉย ด้วยการเพิ่มการรับรู้ทางประสาทสัมผัส โดยลดการคิดนึกปรุงแต่งความรู้สึกอื่นๆ

-สติใช้เพื่อที่จะรู้เท่าทันในสังขาร 3

รู้เท่าทันในการเคลื่อนไหว(กายสังขาร) ในอันที่จะการสร้างกรรมใดๆ นั่นคือศีล
รู้เท่าทันในอารมณ์ที่ปรุงแต่งจิต(จิตสังขาร) จนจิตเป็นอิสระจากอารมณ์ นี่คือสมาธิ
รู้เท่าทันความคิดทั้งหลาย(วจีสังขาร) ว่าความคิดเป็นเหตุเป็นผลหรือไม่(โยนิโสมนสิการ) นี้คือปัญญา
*ที่มา
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4

-------------------

ทุกคนรู้วิธีรินน้ำชา
ทุกคนรู้วิธีดื่มชา
แต่ใช่ว่าทุกคนจะรินน้ำชา
และดื่มชาอย่างมีสติได้
*ติช นัท ฮันห์, สัจธรรม / สติ
------------
ป.ล.
*สติมา ปัญญาเกิด
*สติ เตลิดจะเกิดปัญหา

5/11/58
mk007
-------------
พระบาฬี pra pali
https://www.facebook.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%AC%E0%B8%B5-pra-pali-1707619752786964/?pnref=story



วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558

จิต mind


#จิตฺต บาลีอ่านว่า จิต-ตะ (จินฺต จินฺตายํ ในความคิด+ต)     ไทยอ่านว่า จิต[n.] mind

*มีวิเคราะห์(ความหมาย)เป็นต้นว่า...
จิตฺเตตีติ จิตฺตํ อารมฺมณํ วิชานาตีติ อตฺโถ ฯ
ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต มีอรรถว่า ธรรมชาติที่รู้อารมณ์คือ จิต
-------------

*อภิธานัปปทีปิกา.. ท่านกล่าวไว้ในคาถาที่ ๑๕๒ ว่า

๑๕๒.     จิตฺตํ เจโต มโน นิตฺถี                             วิญฺญาณํ หทยํ ตถา
                มานสํ ธี ตุ ปญฺญา จ                               พุทฺธิ เมธา มติ มุติ.
จิต, ใจ ๖ ศัพท์ คือ จิตฺต, เจต, มน, วิญฺญาณ, หทย, มานส.  อนิตฺถี มนศัพท์เป็นปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์
--------------
*จิตคืออะไร
จิต คือ ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่ง รู้อารมณ์ จิตเป็นตัวรู้ สิ่งที่จิตรู้นั้นเป็นอารมณ์ จิตรู้สิ่งใด สิ่งนั้นแหละคืออารมณ์
อีกนัยหนึ่งแสดงว่า จิตคือธรรมชาติชนิดหนึ่งที่ รับ จำ คิด รู้ ซึ่งอารมณ์ จิตต้องมีอารมณ์ และต้องรับ
อารมณ์จึงจะรู้ และจำ แล้วก็คิดต่อไปสมตามนัยขยายความตามบาลีว่า
จิตฺเตตีติ จิตฺตํ อารมฺมณํ วิชานาตีติ อตฺโถ ฯ ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า
จิต มีอรรถว่า ธรรมชาติที่รู้อารมณ์คือ จิต
-------------------------
*ในปฏิสัมภิทาพระบาลีมหาวัคค แสดงว่าจิตนี้มีชื่อที่เรียกใช้เรียกขานกันตั้ง ๑๐ ชื่อ แต่ละชื่อก็แสดงให้รู้ ความหมายว่าจิตคืออะไร ดังต่อไปนี้
ยํ จิตฺตํ มโน หทยํ มานสํ ปณฺฑรํ มนายตนํ มนินฺทฺริยํ วิญฺญาณํ วิญฺญาณกฺขนฺโธ ตชฺชา
มโนวิญฺญาณธาตุ อิทํ จิตฺตํ ฯ
*ซึ่ง อัฏฐสาลินีอรรถกถา อธิบายว่า
๑. ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต
๒. ธรรมชาติใดย่อมน้อมไปหาอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า มโน
๓. จิตนั่นแหล่ะได้รวบรวมอารมณ์ไว้ภายใน ดังนั้นจึงชื่อว่า หทัย
๔. ธรรมชาติคือ ฉันทะที่มีในใจนั่นเอง ชื่อว่า มานัส
๕. จิตเป็นธรรมชาติที่ผ่องใส จึงชื่อว่า ปัณฑระ
๖. มนะนั่นเองเป็นอายตนะ คือเป็นเครื่องต่อ จึงชื่อว่า มนายตนะ
๗. มนะอีกนั่นแหละที่เป็นอินทรีย์ คือครองความเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า มนินทรีย์
๘. ธรรมชาติใดที่รู้แจ้งอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วิญญาณ
๙. วิญญาณนั่นแหละเป็นขันธ์ จึงชื่อว่า วิญญาณขันธ์
๑๐. มนะนั่นเองเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ที่รู้แจ้งซึ่งอารมณ์ จึงชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ
---------------------------
สภาพหรือลักษณะของจิต
จิตเป็นปรมัตถธรรม ดังนั้น จิตจึงมีสภาวะ หรือสภาพ หรือลักษณะทั้ง ๒ อย่างคือ ทั้งสามัญลักษณะ และวิเสสลักษณะ
สามัญญลัษณะ หรือไตรลักษณ์ของจิต มีครบบริบูรณ์ทั้ง ๓ ประการคือ อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ
จิตนี้เป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยง ไม่มั่นคง หมายถึงว่า ไม่ยั่งยืน ไม่ตั้งอยู่ได้ตลอดกาล
จิตนี้เป็นทุกขัง คือทนอยู่ไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน ทนอยู่ไม่ได้ตลอดกาล จึงมีอาการเกิดดับ เกิดดับ อยู่ร่ำไป
จิตนี้เป็นอนัตตา คือเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน เป็นสิ่งที่บังคับบัญชาให้ยั่งยืน ให้ทนอยู่ไม่ให้เกิดดับ ก็ไม่ได้เลย
และเพราะเหตุว่าจิตนี้ เกิดดับ เกิดดับ สืบต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็วเหลือประมาณ จนปุถุชนคน ธรรมดาเข้าใจไปว่า จิตนี้ไม่มีการเกิดดับ แต่ว่ายั่งยืนอยู่จนตลอดชีวิตจึงดับไปก็เหมือนกับเข้าใจว่า กระแสไฟฟ้าชนิดกระแสสลับ ซึ่งกลับไปกลับมาอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งเราเห็นหลอดไฟสว่างอยู่ตลอดเวลา ก็เข้าใจว่ากระแสไฟฟ้าไม่ได้ไหลไปแล้วกลับฉะนั้น
ส่วนวิเสสลักษณะหรือ ลักขณาทิจตุกะของจิต ก็มีครบบริบูรณ์ทั้ง ๔ ประการคือ
วิชานน ลกฺขณํ มีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะ
ปุพฺพงฺคม รสํ เป็นประธานในธรรมทั้งปวง เป็นกิจ
สนฺธาน ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการเกิดต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย เป็นอาการปรากฎ
นามรูป ปทฺฏฐานํ มีนามรูป เป็นเหตุใกล้ให้เกิด
------------------------

*ในธรรมบท ภาค ๒ มีคาถากล่าวถึงเรื่องการระวังสังวรจิต และมีความกล่าวถึง ลักษณะหรือสภาพของจิตด้วย จึงขอนำมาแสดงไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้
ทูรงฺคมํ เอกจรํ      อสริรํ คูหาสยํ
เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ   โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา ฯ
แปลความว่า ชนทั้งหลายใด จักระวังจิต ซึ่งไปไกล ไปเดี่ยว ไม่มีสรีระ (รูปร่าง) มีคูหาเป็นที่อาศัย ไว้ได้ ชนทั้งหลายจะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร
----------------------------------
อนึ่ง จิตเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้เกิดขึ้น ทำให้เป็นไปได้ คือทำให้วิจิตรได้ถึง ๖ ประการ
๑. วิจิตรในการกระทำ คือทำให้งดงาม แปลก น่าพิศวง พิลึกกึกกือ เช่น สิ่งของต่างๆที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น ย่อมมีทั้งที่งดงาม แปลกตาน่าพิศวง ตลอดจนน่าเกลียด น่าสยดสยองสพรึงกลัว
๒. วิจิตรด้วยตนเอง คือ ตัวจิตเองก็แปลก น่าพิศวง มีประการต่างๆ นานา เช่น จิตดีก็มี ชั่วก็มี จิตที่ฟุ้งซ่าน
จิตที่สงบ จิตเบาปัญญา จิตที่มากด้วยปัญญา จิตที่มีความจำเลอะเลือน จิตที่มีความจำเป็นเลิศ สุดที่จะพรรณนา
๓. วิจิตรในการสั่งสมกรรมและกิเลส ก็น่าแปลกที่จิตนั่นแหละเป็นตัวที่ก่อกรรมทำเข็ญ และก็จิตนั่นแหละ
เป็นตัวสะสมกรรมและกิเลสที่ตัวนั้นทำไว้เอง น่าแปลก น่าพิศวงยิ่งขึ้น ก็ตรงที่ว่า กรรมอะไรที่ไม่ดีที่ตัวทำ เอง ก็ไม่น่าจะเก็บสิ่งที่ไม่ดีนั้นไว้ แต่ก็จำต้องเก็บต้องสั่งสมไว้
๔. วิจิตรในการรักษาไว้ ซึ่งวิบากที่กรรมและกิเลสได้สั่งสมไว้ หมายความว่ากรรมทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมที่จิตเป็นตัวการก่อให้เกิดขึ้นนั้น จะไม่สูญหาย
ไปไหนเลย แม้จะช้านานปานใด ก็ไม่มีการเสื่อมคลายไป เมื่อได้ช่องสบโอกาสเหมาะเมื่อใด เป็นต้องได้รับผลของ
กรรมเมื่อนั้นจนได้
๕. วิจิตรในการสั่งสมสันดานของตนเอง หมายถึงว่าการกระทำกรรมอย่างใดๆ ก็ตาม ถ้ากระทำอยู่บ่อยๆ
ทำอยู่เสมอๆ เป็นเนืองนิจ ก็ติดฝังในนิสสัยสันดานให้ชอบกระทำ ชอบพฤติกรรมอย่างนั้นไปเรื่อยๆ ไป
๖. วิจิตรด้วยอารมณ์ต่างๆ หมายถึงว่าจิตนี้รับอารมณ์ได้ต่างๆ นานาไม่มีที่จำกัดแต่น่าแปลก น่าพิศวงที่มักจะรับอารมณ์ที่ไม่ดี ที่ชั่วได้ง่ายดาย
-------------------------

จำแนกจิตเป็น ๔ ประเภท
เมื่อกล่าวตาม สภาพ คือกล่าวตามลักษณะของจิตแล้ว จิตนี้มีเพียง ๑ เพราะจิตมีสภาวะ มีสภาพ มีลักษณะ รับรู้อารมณ์แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นเอง
แต่เมื่อกล่าวตามอารมณ์ที่รู้ ตามประเภทที่รู้ กล่าวคือ รู้ในเรื่องกามที่เป็นบุญเป็นบาปรู้เรื่องรูปฌาณ รู้ในเรื่อง
อรูปฌาณ รู้ในเรื่องนิพพานเหล่านี้แล้ว จิตก็มีจำนวนนับอย่างพิศดารได้ถึง ๑๒๑ ดวง หรือ ๑๒๑ อย่าง ๑๒๑ ชนิด และจำแนกได้เป็นประเภทตามอาการที่รู้นั้นได้เป็น ๔ ประเภท คือ
๑. กามาวจรจิต ๕๔ ดวง
๒. รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง
๓. อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง
๔. โลกุตตรจิต ๘ ดวง หรือ ๔๐ ดวง
รวมเป็น ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวง
-------------------------------
๑. กามาวจรจิต เป็นจิตประเภทที่ข้องอยู่ ที่ติดอยู่ ที่หลงอยู่ ที่เจืออยู่ในกามตัณหา หรือเป็นจิตที่ส่วนมากท่องเที่ยววนเวียนอยู่ในกามภูมิ จิตประเภทนี้เรียกสั้นๆ ว่า กามจิต มีจำนวน ๕๔ ดวง
๒. รูปาวจรจิต เป็นจิตที่ถึงซึ่งรูปฌาณ พอใจที่จะเป็นรูปพรหม หรือเป็นจิตที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูปภูมิ จิตประเภท
นี้มีจำนวน ๑๕ ดวง
๓. อรูปาวจรจิต เป็นจิตประเภทที่เข้าถึงซึ่งอรูปฌาณ พอใจที่จะเป็นอรูปพรหมหรือ เป็นจิตที่ท่องเที่ยวอยู่ใน
อรูปภูมิ จิตประเภทนี้มีจำนวน ๑๒ ดวง
๔. โลกุตตรจิต เป็นจิตประเภทที่กำลังพ้นและพ้นแล้วจากโลกทั้ง ๓ คือ พ้นจาก กามโลก (กามภูมิ), จากรูปโลก
(รูปภูมิ) และจากอรูปโลก (อรูปภูมิ) จิตประเภทนี้มีจำนวน
เพียง ๘ ดวง ถ้าจิต ๘ ดวงนี้ประกอบด้วยฌาณด้วยแล้ว จิตแต่ละดวงก็แจกได้เป็น ๕ ตามชั้นตามประเภทของ
ฌาณ ซึ่งมี ๕ ชั้น จึงเป็นจิตพิศดาร ๔๐ ดวง ดังนั้น จิตทั้งหมด นับโดยย่อก็เป็น ๕๔ ดวง และนับโดยพิศดาร
ก็เป็น ๑๒๑ ดวงที่นับอย่างพิศดารนั้น จำนวนที่เพิ่มขึ้น ก็เพิ่มที่โลกุตตรกุศลจิตประเภทเดียวเท่านั้น
-----------------
*อ้างอิง
คู่มือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย

---------------------
จิต[n. adj.] the mind = จิตใจ [n. adj.] mental (illness)/คำพ้องความหมาย (Synonym)ใจ
จิต[n.] mind [syn.] ใจ,จิตใจ,ความคิด    หมายเหตุ  สิ่งที่มีหน้าที่รู้ คิด และนึก
จิต จิต-[จิด จิดตะ-] น. ใจ สิ่งที่มีหน้าที่รู้ คิดและนึก (โบ เขียนว่า จิตร) ลักษณนามว่า ดวง. (ป. จิตฺต).[จิด จิดตะ-] น. ใจ สิ่งที่มีหน้าที่รู้ คิดและนึก (โบ เขียนว่า จิตร) ลักษณนามว่า ดวง. (ป. จิตฺต).

----------

วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558

ศรัทธา faithful



#สทฺธา บาลีอ่านว่า สัท-ธา  แปลว่า ความเชื่อ (ภาษาไทย เขียนอย่างสันสกฤตเป็น ศรัทธา) faithful
มีรูปวิเคราะห์/วจนัตถะ(ความหมาย) ว่า
วิ.  สมฺมา  จิตฺตํ  นิเธติ  เอตายาติ  สทฺธา.  (สํปุพฺพ + ธา  ธารเณ ในการทรงไว้ + อ + อา) (กรณสาธนะ)
    ย่อมตั้งไว้ ซึ่งจิต ด้วยดี ด้วยธรรมนี้ เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าสทฺธา.  (ธรรมชาติเป็นเครื่องตั้งจิตไว้ด้วยดี, ศรัทธา)
วิ.  สยํ  สทฺทหตีติ  สทฺธา.  (สํปุพฺพ + ธา  ธารเณ ในการทรงไว้ + อ + อา) (กัตตุสาธนะ)
     ย่อมเชื่อ เอง เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าสทฺธา.  (ศรัทธา, ความเชื่อ)
*สัทธา ความเชื่อ;
       ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริงความดีสิ่งดีงามและในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก
--------------------------------------
*ทำตัวตามแนวคัมภีร์ปทรูปสิทธิ
ทำตัวรูป สมฺมา จิตฺตํ นิเธติ เอตายาติ สทฺธา         ศัพท์เดิมคือ            = สํ + ธา  ธารเณ ในการทรงไว้
                                ตั้ง ธา ชื่อธาตุ                         สํ + ธา     = ภูวาทโย ธาตโว.
                             นิเธติ ย่อมตั้งไว้  จิตฺตํ ซึ่งจิต  สมฺมา ด้วยดี  เอตาย ด้วยธรรมนี้  อิติ อตฺเถ ในอรรถนี้
                               หลังจากธาตุ ลง อปัจจัยในอิตถีลิงค์   สํ + ธา + อ    = อิตฺถิยมติยโว วา.
                                ตั้ง อปัจจัย ชื่อว่ากิต              สํ + ธา + อ              = อญฺเญกิตฺ.
                                แปลง นิคหิต เป็น นฺ              ส   ํ > นฺ + ธา + อ   = วคฺคนฺตํ วา วคฺเค.
                                แปลง นฺ เป็น ทฺ                     ส   นฺ > ทฺ + ธา + อ = วชาทีหิ  ปพฺพชฺชาทโยฯ
                         แยกพยัญชนะ ธฺ ออกจากสระ อา    สทฺธฺ  อา + อ= ปุพฺพมโธฐิตมสฺสรํ สเรน วิโยชเย.
                ลบสระหน้า เพราะสระหลังๆ เป็นปกติ   สทฺธฺ  อา/ + อ      = สรโลโปมาเทสปฺปจฺจยาทิมฺหิฯ
                                นำพยัญชนะ ธฺ ไปประกอบกับสระ อ                สทฺธ        = นเย ปรํ ยุตฺเต.
                                หลังจากอการันต์ ลง อาปัจจัยอิตถีลิงค์ สทฺธ + อา        = อิตฺถิยมโต อาปจฺจโย.
                      แยกพยัญชนะ ธฺ ออกจากสระ อ     สทฺธฺ  อ + อา    = ปุพฺพมโธฐิตมสฺสรํ สเรน วิโยชเย.
               ลบสระหน้า เพราะสระหลังๆ เป็นปกติ  สทฺธฺ  /อ + อา     = สรโลโปมาเทสปฺปจฺจยาทิมฺหิฯ
                                นำพยัญชนะ ธฺ ไปประกอบกับสระ อา               สทฺธา      = นเย ปรํ ยุตฺเต.
                                ตั้ง สทฺธา เป็น นาม                        สทฺธา      =   จศัพท์ใน ตทฺธิตสมาสกิตกาฯ
                                หลัง สทฺธา ลง สิปฐมาวิภัตติ            สทฺธา + สิ               = ลิงฺคตฺเถ ปฐมา.
                                ลบ สิวิภัตติ                            สทฺธา + /สิ              = เสสโต โลปํ คสิปิ.
                                                สำเร็จรูปเป็น  สทฺธา. (ธรรมชาติเป็นเครื่องตั้งจิตไว้ด้วยดี, ศรัทธา)
---------------------------------------------
*ศรัทธาในทางพระพุทธศาสนามีสี่อย่าง คือ
1.กัมมสัทธา เชื่อกรรม เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง คือ เชื่อว่า เมื่อทำอะไรโดยมีเจตนา คือ จงใจทำทั้งรู้ ย่อมเป็นกรรม คือ เป็นความชั่วความดีมีขึ้นในตน เป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดผลดีผลร้ายสืบเนื่องต่อไป การกระทำไม่ว่างเปล่า และเชื่อว่าผลที่ต้องการ จะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ มิใช่ด้วยอ้อนวอนหรือนอนคอยโชค เป็นต้น
2.วิปากสัทธา เชื่อวิบาก เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง คือ เชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วย่อมมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว
3.กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบาก เป็นไปตามกรรมของตน
4.ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มั่นใจในองค์พระตถาคต ว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงพระคุณทั้ง 9 ประการ ตรัสธรรม บัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ คือเราทุกคนนี้ หากฝึกตนด้วยดีก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุด บริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ทรงบำเพ็ญไว้
------------------------------------------
*ศรัทธา หรือ สัทธา เป็นองค์ประกอบในหลายๆหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่
พละ ๕ และ อินทรีย์ ๕ (สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา)
สมชีวิธรรม ๔ (สมสัทธา สมสีลา สมจาคา สมปัญญา)
เวสารัชชกรณธรรม ๕ (ศรัทธา ศีล พาหุสัจจะ วิริยารัมภะ ปัญญา)
อริยวัฑฒิ หรือ อารยวัฑฒิ ๕ (ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา)
อริยทรัพย์ ๗ (ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา)
สัปปุริสธรรม ข้อแรก คือ สัทธัมมสมันนาคโต ประกอบด้วยธรรมเจ็ดประการ อันได้แก่ มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ เป็นพหูสูต มีความเพียรอันปรารภแล้ว มีสติมั่นคง มีปัญญา
*หมายเหตุ
จะเห็นว่าส่วนใหญ่ จะขึ้นด้วยศรัทธา และมีปัญญากำกับอยู่ด้วย
---------------------------
*สัทธาเจตสิก
ในคัมภีร์พระอภิธรรม มีการกล่าวถึงสัทธา ในลักษณะที่เป็นเจตสิก (คือ ธรรมชาติที่อาศัยจิตเกิด) เรียกว่า สัทธาเจตสิก มีลักษณะดังนี้ คือ
มีความเชื่อในกุศลธรรม เป็นลักษณะ
มีความเลื่อมใส เป็นกิจ
มีความไม่ขุ่นมัว เป็นผล
มีวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเชื่อ เป็นเหตุใกล้
สัทธานี้จัดเป็นธรรมเบื้องต้น ในอันที่จะทำให้บุคคล ได้ประกอบคุณงามความดี เป็นบุญกุศลขึ้นมา และสัทธาที่จะเกิดขึ้นได้นั้น ย่อมต้องอาศัยวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเชื่อ ได้แก่ พระรัตนตรัย ผลของกรรม เป็นต้น สัทธานั้นเมื่อเกิดขึ้นย่อมทำให้เกิดความผ่องใส ไม่ขุ่นมัว สามารถดำเนินไปจนเข้าถึงปีติได้
--------------------------------------------
*เหตุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสศรัทธา ได้แก่
1.รูปปฺปมาณ เลื่อมใสศรัทธาเพราะเห็นรูปสมบัติสวยงาม
2.ลูขปฺปมาณ เลื่อมใสศรัทธาเพราะเห็นความประพฤติเรียบร้อยเคร่งในธรรมวินัย
3.โฆสฺปปมาณ เลื่อมใสศรัทธาเพราะได้ฟังเสียงอันไพเราะ
4.ธมฺมปฺปมาณ เลื่อมใสศรัทธาเพราะได้สดับฟังธรรมของผู้ที่ฉลาดในการแสดง

------------------------------------


#ตัวอย่างผู้บรรลุธรรมด้วยศรัทธา
วักกลิ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์ชาวพระนครสาวัตถี เรียนจบไตรเพทตามลัทธิพราหมณ์ บวชในพระพุทธศาสนา ด้วยความอยากเห็นพระรูปพระโฉมของพระศาสดา
       ครั้นบวชแล้วก็คอยติดตามดูพระองค์ตลอดเวลา จนไม่เป็นอันเจริญภาวนา
       พระพุทธเจ้าทรงรอเวลาให้ญาณของเธอสุกงอม ครั้นแล้วก็ตรัสเตือนเธอว่า
           “จะมีประโยชน์อะไรที่ได้เห็นกายเปื่อยเน่านี้ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราดังนี้เป็นต้น
       และทรงสอนต่อไปด้วยอุบายวิธี จนในที่สุดพระวักกลิก็ได้สำเร็จพระอรหัต
       และต่อมาได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่า เป็นเอตทัคคะในทางศรัทธาวิมุต คือ หลุดพ้นด้วยศรัทธา
----------------------------------
สิคาลมาตา พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง
       เป็นธิดาเศรษฐีในพระนครราชคฤห์ เจริญวัยแล้ว แต่งงาน มีบุตรคนหนึ่งชื่อ สิงคาลกุมาร
       วันหนึ่งได้ฟังธรรมีกถาของพระศาสดา มีความเลื่อมใส (คัมภีร์อปทานว่า ได้ฟังสิงคาลกสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่บุตรของนาง ซึ่งว่าด้วยเรื่องอบายมุข มิตรแท้ มิตรเทียม ทิศ ๖ เป็น และได้บรรลุโสดาปัตติผล) ขอบวชเป็นภิกษุณี
       ต่อมาได้ไปฟังธรรมเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดง นางคอยตั้งตาดูพระพุทธสิริสมบัติด้วยศรัทธาอันแรงกล้า พระพุทธองค์ทรงทราบกับอัธยาศัยของนาง นางส่งใจไปตามกระแสพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุพระอรหัต
       ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางศรัทธาธิมุต,
       สิคาลกมาตา หรือ สิงคาลมาตา ก็เรียก
--------------------------------
อุบลวรรณา พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง เป็นธิดาเศรษฐีในพระนครสาวัตถี
       ได้ชื่อว่า อุบลวรรณา เพราะมีผิวพรรณดังดอกนิลุบล (อุบลเขียว) มีความงามมาก จึงเป็นที่ปรารถนาของพระราชาในชมพูทวีปหลายพระองค์ ต่างส่งคนมาติดต่อ
       ท่านเศรษฐีเกิดความลำบากใจ จึงคิดจะให้ธิดาบวชพอเป็นอุบาย แต่นางเองพอใจในบรรพชาอยู่แล้ว จึงบวชเป็นภิกษุณีด้วยศรัทธาอย่างจริงจัง
       คราวหนึ่งอยู่เวรจุดประทีปในพระอุโบสถ นางเพ่งดูเปลวประทีป ถือเอาเป็นนิมิต เจริญฌานมีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ ได้บรรลุพระอรหัต
       ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ และเป็นอัครสาวิกาฝ่ายซ้าย
------------------------------------
*อ้างอิง
คัมภีร์ปทรูปสิทธิ
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม".

"พระอภิธัมมัตถสังคหะ".และ"อภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา".