วิปัสสนากรรมฐาน
คำว่า วิปสฺสนา นั้นมาจาก (วิ + ทิส ธาตุ เปกฺขเน ในการเห็น แปลงทิส เป็น ปสฺส ทิส>ปสฺส + ยุปัจจัย แปลง ยุ >อน + ลง อา ปัจจัย อิตถีโชตกะ สำเร็จ เป็น วิปสฺสนา)
วิปัสสนากรรมฐาน คือ กรรมฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา, กรรมฐานทำให้เกิดการรู้แจ้งเห็นจริง หมายถึงการปฏิบัติธรรมที่ใช้สติเป็นหลัก
วิปัสสนากรรมฐาน คือ กรรมฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา, กรรมฐานทำให้เกิดการรู้แจ้งเห็นจริง หมายถึงการปฏิบัติธรรมที่ใช้สติเป็นหลัก
วิปัสสนากรรมฐานบำเพ็ญได้ โดยการพิจารณาสภาวธรรมหรือนามรูป คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะอินทรีย์ให้เห็นตามความเป็นจริง คือ เห็นด้วยปัญญาว่าสภาวธรรมเหล่านี้ ตกอยู่ในสามัญลักษณะหรือไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เท่านั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
วิปัสสนากรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่มุ่งอบรมปัญญาเป็นหลักคู่กับ สมถกรรมฐาน ซึ่งมุ่งบริหารจิตเป็นหลัก ในคัมภีร์ทางพระศาสนาทั้งพระไตรปิฎกและอรรถกถาทั่ว ๆ ไปมักจัดเอาวิปัสสนาเป็นแค่ สุตมยปัญญาและจินตามยปัญญา เพราะในวิภังคปกรณ์พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้อย่างนั้น ทั้งนี้ก็ยังพอจะอนุโลมเอาวิปัสสนาว่าเป็นภาวนามยปัญญา[ต้องการอ้างอิง] ได้อีกด้วย เพราะในฎีกาหลายที่ท่านก็อนุญาตไว้ให้ ซึ่งท่านคงอนุโลมเอาตามนัยยะพระสูตรอีกทีหนึ่ง และในอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรคท่านก็อนุโลมให้เพราะจัดเข้าได้ในภาวนามัยบุญกิริยาวัตถุข้อ 10.
รายละเอียดวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน หรือการเจริญปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ได้แก่ การปฏิบัติตามสติปัฏฐาน 4 ดังบรรยายไว้โดยละเอียดในมหาสติปัฏฐานสูตร ในพระไตรปิฎก
ระหว่างปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อผู้ปฏิบัติกำลังมนสิการขันธ์ 5 อย่างหนึ่งอย่างใดอยู่โดยไตรลักษณ์ ผู้ปฏิบัติอาจเกิดวิปัสสนูปกิเลส (คือ อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา 10 อย่าง) ชวนผู้ปฏิบัติให้เข้าใจผิด คิดว่าตนได้มรรคผลแล้ว คลาดออกนอกวิปัสสนาวิถีได้
อารมณ์ของวิปัสสนา
ตามหลักการที่พระพุทธเจ้าและพระอรรถกถาจารย์ได้วางไว้ เราสามารถทราบอารมณ์ของวิปัสสนาได้ด้วยการไล่ตามวิถีจิตไปตามกฎเกณฑ์และตามหลักฐาน ซึ่งจะพบว่ามีทั้งปรมัตถ์และบัญญัตติเป็นอารมณ์ กล่าวคือ เมื่อคิดถึงวิปัสสนาภูมิ เช่น ธรรมะ 201 เป็นต้นตอนที่ทำวิปัสสนาอยู่ ก็มีปรมัตถ์เป็นอารมณ์, แต่เมื่อนึกถึงพระพุทธพจน์ เช่น ชื่อของธรรมะ 201 หรือ อาการของขันธ์เช่น ไตรลักษณ์ หรือ อิริยาบถต่างๆ เป็นต้น เป็นเครื่องกำหนด วิปัสสนาก็จะมีบัญญัติเป็นอารมณ์.
วิปัสสนาภูมิ ตามที่แสดงไว้ในวิสุทธิมรรคนั้น ได้แก่ ธรรมะ 201 เป็นต้น เช่น
ขันธ์ 5
อายตนะ 12
ธาตุ 18
อินทรีย์ 22
อริยสัจ 4
ปฏิจจสมุปบาท 12
วิปัสสนาภูมิที่ยกมานี้ ท่านเอามาจากพระไตรปิก เช่นจาก สติปัฏฐานสูตร (ม.มู.) สังยุตตนิกาย (สุตฺต.สํ.) วิภังคปกรณ์ (อภิ.วิ.) เป็นต้น. ที่ทราบได้ว่า วิสุทธิมรรคยกมาพอเป็นตัวอย่าง เพราะท้ายของวิปัสสนาภูมิทั้ง 6 นี้ มี "อาทิ"ศัพท์ (แปลว่า เป็นต้น) อยู่ด้วย. ฉะนั้น ในปรมัตถมัญชุสา วิสุทธิมรรคมหาฎีกา จึงอธิบายอาทิศัพท์ ว่า หมายถึงอาหาร 4 เป็นต้นด้วย และกล่าวต่อไปอีกว่า ให้ท่านผู้อ่านเทียบเคียงธรรมะหมวดอื่นๆ ตามนัยนี้ได้อีก.
ในพระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกานั้น จะไม่มีการจำกัดให้วิปัสสนามีแต่ปรมัตถ์เป็นอารมณ์ เพราะในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาก็มีทั้งจุดที่ท่านแสดงให้วิปัสสนามีอารมณ์เป็นปรมัตถ์และเป็นบัญญัติก็มี ส่วนมติว่า "วิปัสสนามีอารมณ์เป็นปรมัตถ์เท่านั้น" เป็นมติของอาจารย์ชาวพม่ารุ่นหลังซึ่งเชิญเข้ามาในสมัยของพระอาจารย์ อาจ อาสภมหาเถระมีอาจารย์เตชิน และอาจารย์สัทธัมมโชติกะ เป็นต้น. ในฝ่ายไทยเมื่อตรวจสอบตามสายวัดป่า ก็พบว่า ไม่มีข้อบัญญัติว่า "วิปัสสนามีอารมณ์เป็นปรมัตถ์เท่านั้น"มาแต่เดิม.
การเรียนวิปัสสนากรรมฐาน
การเรียนวิปัสสนากรรมฐานนั้น ต้องเรียนศีลและสมาธิจนปฏิบัติได้มาก่อน หรืออาจเรียนไปพร้อมกันก็ได้ ซึ่งอาจจัดช่วงของการเรียนตามมหาสติปัฏฐานสูตรอรรถกถาได้เป็น 2 ช่วงใหญ่ คือ
ช่วงปริยัตติ
อุคคหะ คือ การท่อง เพื่อทำให้จำวิปัสสนาภูมิ อันได้แก่ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ อริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท อาหาร เป็นต้นได้ โดยเลือกท่องเฉพาะส่วนที่สนใจก่อนก็ได้และต้องจำให้คล่องปากขึ้นใจพอที่จะคิดได้เองโดยไม่ต้องเปิดหนังสือ.
ปริปุจฉา คือ การหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อให้ได้รายละเอียดของวิปัสสนาภูมินั้น ๆ เพิ่ม ซึ่งอาจจะสงสัย หรือ ติดขัดอยู่ โดยอาจจะเปิดหนังสือค้น หรือไปสอบถามจากอาจารย์ผู้เชียวชาญชำนาญในสาขานั้น ๆ ก็ได้.
สวนะ คือ การฟัง หรือ อ่านคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎก เพื่อทำความเข้าใจหลักธรรมะโดยรวม ให้สามารถมองเห็นภาพรวมได้ชัดเจน.
ธารณะ คือ การจำธรรมะ ตามที่ได้อุคคหะ ปริปุจฉา สวนะมาได้ เพื่อจะนำไปพิจารณาในช่วงปฏิบัติต่อไป.
ช่วงปฏิบัติ
สังวระ คือ การปฏิบัติศีล.
สมาปัตติ คือ การปฏิบัติสมาธิให้ได้ อุปจาระหรืออัปปนา.
สัมมสนะ คือ การปฏิบัติวิปัสสนา คือ พิจารณาปัจจัตตลักษณะและสามัญญลักษณะด้วยการคิดหน่วงเอาธรรมะที่ได้ปริยัตติมานั้นมาแยกแยะหาความสัมพันธ์กันด้วยปัจจัตลักษณะ และเพ่งไตรลักษณ์ ในธรรมะที่ได้ปริยัตติมานั้นอีก ด้วยวิปัสสนาญาณซึ่งมีอีกชื่อหนึ่งว่า ธัมมนิชฌานักขันติญาณ. ในที่นี้ เฉพาะสัมมสนะนี้เท่านั้นที่เป็นช่วงปฏิบัติวิปัสสนา.
สถานที่สำหรับเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ตามมหาสติปัฏฐานสูตรบรรยายไว้สามแห่ง คือ ป่า โคนต้นไม้ ที่ว่างเปล่า (สุญญาคาร เรือนว่าง) แต่พึงทราบว่า ตามกัมมัฏฐานคหณนิทเทส ในวิสุทธิมรรคนั้น เนื่อจากท่านกล่าวอุปสรรคของวิปัสสนาให้มีแค่อย่างเดียว คือ การฝึกทำฤทธิ์เดชมีการเหาะเหิรเดินอากาศเป็นต้น (ถ้าแค่ฌานนั้นไม่นับเพราะง่ายกว่าฤทธิ์มาก) ฉะนั้น วิปัสสนาจึงปฏิบัติได้ทุกที่ แต่ที่ๆเหมาะสมที่สุด และควรจะหาให้ได้ ก็คือ ป่า โคนไม้ เรือนว่าง ห่างไกลคน โล่ง ๆ นั่นเอง เพราะจะทำให้ศีลและสมาธิดีกว่ามากมายยิ่งนัก ปัญญาก็จะกล้าขึ้นได้ไวไปด้วยเช่นกัน.
ประโยชน์ของสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน
สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานมีประโยชน์มาก คือ
ทำคนให้ฉลาด เพราะจะรู้จักทั้งบัญญัติและปรมัตถ์เป็นอย่างดี ละเอียดรอบคอบขึ้นมาก.
ทำคนให้มีศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม
ทำคนให้สนิทสนมกลมกลืนกัน กรุณาเอ็นดูสงสารกัน พลอยยินดีอนุโมทนาสาธุการเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี
ทำคนให้เว้นจากเบียดเบียนกัน เว้นจากการเอารัดเอาเปรียบกัน
ทำคนให้รู้จักตัวเอง และรู้จักปกครองตัวเอง
ทำคนให้ว่านอนสอนง่าย ไม่มานะถือตัว ไม่เย่อหยิ่งจองหอง
ทำคนให้หันหน้าเข้าหากัน เพราะต่างฝ่ายต่างลดทิฏฐิมานะลง
ทำคนให้หนักแน่นในกตัญญูกตเวทิตา
ทำคนให้เป็นผู้ประเสริฐ เพราะเหตุว่า การปฏิบัติธรรมนี้ย่อมเป็นไปเพื่อคุณสมบัติเหล่านี้ คือ
เพื่อละนิวรณ์ 5
เพื่อละกามคุณ 5
เพื่อหัดให้คนเป็นผู้รู้จักประหยัด
เพื่อละอุปาทานขันธ์ 5
เพื่อละสังโยชน์เบื้องต่ำ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท
เพื่อละคติ 4 คือ นรกภูมิ เปตติวิสัยภูมิ อสุรกายภูมิ และดิรัจฉานภูมิ เมื่อได้ญาณ 16 ในวิปัสสนากรรมฐานโดยเด็ดขาดไม่ว่าจะเกิดอีกกี่ชาติ (พระโสดาบันเกิดไม่เกิน7ชาติเป็นอย่างมาก) ส่วนสมถกรรมฐานเมื่อได้ฌานที่ 1 ขึ้นไปก็อาจนำไปเกิดในพรหมโลกได้แต่ก็ยังคงเวียนว่ายมาเกิดในอบายถูมิ4ได้อีกในชาติต่อๆไป ดังนั้น สมถกรรมฐานจึงไม่ใช่การปฏิบัติที่ละ อบายภูมิ 4 ได้โดยเด็ดขาด
เพื่อละความตระหนี่ 5 คือ ตระหนี่ที่อยู่ ตระหนี่ตระกูล ตระหนี่ลาภ ตระหนี่วรรณะ ตระหนี่ธรรม
เพื่อละสังโยชน์เบื้องบน คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา
เพื่อละตะปูตรึงใจ 5 คือ สงสัยในพระพุทธ สงสัยในพระธรรม สงสัยในพระสงฆ์ สงสัยในสิกขา ความโกรธไม่พอใจในเพื่อนพรหมจรรย์
เพื่อละเครื่องผูกพันจิตใจ 5 คือ ไม่ปราศจากความชอบใจทะยานอยากในกาม ในรูป ความสุขในการกิน การนอน การรักษาศีลเพื่อเทพนิกาย
เพื่อก้าวล่วงความโศกเศร้าเสียใจ (ทุกข์ทั้งหลาย) ดับทุกข์โทมนัส เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน
อานิสงส์อย่างสูงให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ อย่างกลางก็ให้สำเร็จเป็นพระอนาคามี สกทาคามี โสดาบัน อย่างต่ำไปกว่านั้นที่เป็นสามัญ ก็เป็นผู้ที่มีคติเที่ยงที่จะไปสู่สุคติ
ชื่อว่า ได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยปฏิบัติบูชา
ชื่อว่า เป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อพระพุทธเจ้า
ชื่อว่า เป็นผู้ได้บำเพ็ญสิกขา 3 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ประมาท เพราะมีสติอยู่กับรูปนามเสมอ ความไม่ประมาทนั้นคือ อยู่อย่างมีสตินั่นเอง
ชื่อว่า ได้เป็นผู้ทรงธรรม
ชื่อว่า ได้เป็นผู้ปฏิบัติถูกต้อง
ชื่อว่า ได้ปฏิบัติตามมรรคมีองค์ 8 ทางสายกลาง
ชื่อว่า ได้เข้าถึงพระรัตนตรัยอย่างแท้จริง คือถึงด้วยอำนาจแห่งการปฏิบัติ คือ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่เกิดกับการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ตั้งแต่ ภังคญาณ เป็นต้นไป จนถึง มรรคญาณ ผลญาณ และปัจจเวกขณญาณ
*อ้างอิง
สติปัฏฐานสูตร (ม.มู.)
สังยุตตนิกาย (สุตฺต.สํ.)
วิภังคปกรณ์ (อภิ.วิ.)
คัมภีร์วิสุทธิมรรค
*ดูเพิ่มเติม
*อ้างอิง
สติปัฏฐานสูตร (ม.มู.)
สังยุตตนิกาย (สุตฺต.สํ.)
วิภังคปกรณ์ (อภิ.วิ.)
คัมภีร์วิสุทธิมรรค
*ดูเพิ่มเติม
[1] ที.ม. (ไทย) ๑๐/๒๗๓/๒๕๗. ผู้สนใจ ศึกษาคำอธิบายอย่างละเอียดได้จากหนังสือของท่าน พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ),มหาสติปัฏฐานสูตร ทางสู่พระนิพพาน, แปลโดยพระคันธสาราภิวงศ์, (กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยรายวันการพิมพ์, ๒๕๔๙).
[2] พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ),มหาสติปัฏฐานสูตรทางสู่พระนิพพาน, แปลโดยพระคันธสาราภิวงศ์, หน้า๒๔.
[3] กจฺ. ข้อ ๕๔๗ ด้วยสูตรว่า กตฺตุกรณปเทสุ จ.
[4] กจ. ข้อ ๖๒๒ ด้วยสูตรว่า อนกา ยุณฺวูนํ..
[5] ที.ม.อ. (บาลี) ๓๖๗-๓๖๘, ที.ม.ฏีกา(บาลี) ๓๕๗-๓๕๙.
[6]พระสัทธัมมโชติกะธัมมาจริยะ,ปรมัตถโชติกะปริจเฉทที่ ๗. หน้า ๑๓๑.
[7] พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ, ปรมัตถโชติกะ ปริจเฉทที่ ๓ และปริจเฉทที่ ๗, (กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทิพยวิสุทธิ์), หน้า ๑๓๐.
[8] ม.ม. (บาลี) ๑๒/๑๓๑/๑๐๓ , ที.ฏีกา (บาลี) ๒/๑๑๐.
[9] ที.ม. (ไทย) ๑๐/๒๗๓/๒๑๖.
[10] การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามหลักสติปัฏฐาน ๔ พระอาจารย์ ดร. ภัททันตะ อาสภเถระธัมมาจริยะ อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยะ
[11] ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๗๓/๓๐๑
[12]ที.ม. (บาลี) ๑๐/๒๗๓/๓๒๒.
[13] ที.ม. (ไทย) ๑๐/๒๗๔/๒๑๖, ที.ฏีกา (บาลี) ๒/๑๑๐.
[14] ดูรายละเอียดใน วิสุทฺธิ. (บาลี) ๑/๑๒๐.
[15] สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๙๘๔/๔๖๒ , สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๙๘๑/๔๕๗.
[16] สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๙๘๔/๔๖๑.
[17] ดูรายละเอียดใน ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๑๔๙/๑๘๙.
[18] ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๑๔๙/๑๙๐.
[19] วิ.มหา. (บาลี) ๑/๑๖๕/๙๖, ม.ม. (บาลี) ๑๓/๑๒๑/๙๕ , ม.อุ. (บาลี) ๑๔/๑๔๘/๑๓๐.
[20] ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนา มี ๙ อย่าง ได้แก่ ๑)อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ๒) ภังคานุปัสสนาญาณ ๓) ภยตูปัฏฐานญาณ ๔) อาทีนวานุปัสสนาญาณ ๕) นิพพิทานุปัสสนาญาณ ๖) มุญจิตุกัมยตาญาณ ๗) ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ๘) สังขารุเปกขาญาณ ๙) สัจจานุโลมิกญาณ ดูใน องฺ.จตุกฺก.อ. (บาลี)๒/๑๖๒/๓๘๗, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา (บาลี) ๒/๑๖๒/๔๒๕.
[21] วิสุทฺธิ. (บาลี) ๑/๓๐๐ , วิ.มหา.อ. (บาลี) ๑/๕๐๕ ,ขุ.ป.อ. (บาลี) ๒/๑๐๗.
[22] ม.มู.ฏีกา (บาลี) ๑/๔๙/๒๕๗ , วิสุทฺธิ.มหาฏีกา (บาลี) ๑/๓/๑๕.
[23] ขุ.ป. (บาลี) ๓๑/๑๖๗/๒๕๘.
[24] วิสุทฺธิ. (บาลี) ๑/๓๐๐ ,ขุ.ป.อ. (บาลี) ๒/๑๐๗.
[25] พระโสภณมหาเถระ,วิปัสสนานัย เล่ม ๑ . พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม)ตรวจชำระ, พระคันธสาราภิวงศ์ เรียบเรียง, : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซีเอไอ เซ็นเตอร์, ๒๕๔๘.
[26] ที.ม. (บาลี) ๑๐/๓๘/๒๖๒.
[27] ดูรายละเอียดใน ม.ม. (บาลี) ๑๓/๑๗๗/๙๓, อภิ.สงฺ.อ. (บาลี) ๑/๑๐๑๑/๓๙๑, พระโสภณมหาเถระ(มหาสีสยาดอ) , วิปัสสนานัย เล่ม ๑, อ้างแล้ว, หน้า ๒๒๙.
[28] ระงับกายสังขาร หมายถึงผ่อนคลายลมหายใจหยาบให้ละเอียดขึ้นไปโดยลำดับ จนถึงขั้นที่จะต้องพิสูจน์ว่า มีลมหายใจอยู่หรือไม่ ดูใน วิสุทฺธิ. (บาลี) ๑/๒๒๐-๒๒๑/๒๙๘-๓๐๒.
[29] ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๑๕๓/๑๙๖.
[30] ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๑๕๔/๑๙๗.
[31] ม.อุ.อ. (บาลี) ๔/๑๐๙/๙๙.
[32] ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๗๕/๓๐๔ , พระโสภณมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต (มหาสีสยาดอ), พระคันธสาราภิวงศ์ เรียบเรียง, พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ. ๙, Ph.D) ตรวจชำระ, มหาสติปัฏฐานสูตร ทางสู่พระนิพพาน,พิมพ์ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด โทยรายวันการพิมพ์, ๒๕๔๙), หน้า ๒๒.
[33] ม.มู. (บาลี) ๑๒/๑๓๔/๑๐๕.
[34] ม.มู. (ไทย) ๑๒/๑๓๔/๗๔.
[35] ที.ม. (ไทย) ๑๐/๒๗๕/๒๑๗.
[36] ที.ม. (บาลี) ๑๐/๓๗๕/๒๘๙, ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๗๕/๓๐๔.
[37] ที.ม.อ. (บาลี) ๑๔/๒๙๙ , ม.มู.อ. (บาลี) ๑๗/๑๓๔/๖๗๕.
[38] ดูรายละเอียดใน พุทธทาสภิกขุ. วิปัสสนาในอิริยาบถยืน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธรรมสภา, ๒๕๔๒.
[39] อ้างแล้ว.
[40] วิสุทฺธิ. (บาลี) ๓/๒๕๑, พระพุทธโฆสเถระ, วิสุทธิมรรค, สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) แปลและเรียบเรียง พิมพ์ครั้งที่ ๖ (กรุงเทพฯ : บริษัท ธนาเพรส จำกัด, ๒๕๔๘), ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๒๑๔/๑๗๓ – ๑๗๔., สํ.ม.อ. (บาลี) ๓/๓๖๔/๒๖๑., อภิ.วิ.อ. (บาลี) ๑/๕๑๓/๓๘๐.
[41] ที.ฎีกา (บาลี) ๑/๓๐๑-๒, ม.ฎีกา (บาลี) ๑/๔๔๖.
[42] ธนิต อยู่โพธิ์. วิปัสสนานิยม, พิมพ์ครั้งที่ ๗. พ.ศ ๒๕๔๐. หน้า ๒๘.
[43] อง.ปญฺจก. (บาลี) ๒๒/๒๙/๓๑.
[44] ที.ม. (บาลี) ๑๐/๓๗๔/๒๘๙, ที.ม.(ไทย)๑๐/๓๗๔/๓๐๒, วิสุทฺธิ. (บาลี)๑/๒๙๕.
[45] ที.ม.อ. (บาลี) ๑๔/๒๙๙, ม.มู.อ. (บาลี) ๑๗/๑๓๔/๖๗๕.
[46] มหาสติปัฏฐานสูตรทางสู่พระนิพพาน, พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ.๙ M.A. Ph.D) ตรวจชำระ พระคันธสาราภิวงศ์ (แปลและเรียบเรียง) หน้า ๔๓.
[47] ที.ม. (ไทย) ๑๐/๒๗๕/๒๑๗.
[48] ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๕๗/๒๔๙.
[49] ม.มู.อ. (ไทย) ๑๗/๑๓๔/๖๗๕.
[50] พระราชพรหมาจารย์ (พระอาจารย์ทอง สิริมงฺคโล) คู่มือการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในแนวสติปัฏฐาน ๔ หน้า ๕.
[51] ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๗๖/๓๐๕.
[52] ม.มู. (บาลี) ๑๒/๑๓๕/๑๐๕.
[53] ม.มู. (ไทย) ๑๒/๑๓๕/๗๔.
[54] ที.ม.อ. (ไทย) ๑๔/๒๗๖/๒๑๒, ม.มู.อ. (ไทย) ๑๗/๑๓๕/๖๐๘-๖๐๙.
[55] ที.ม. (บาลี) ๑๐/๒๗๕/๓๒๔.
[56] มหาสติปัฏฐานสูตรทางสู่พระนิพพาน. พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ. ๙ M.A . Ph. D) ตรวจชำระ พระคันธสาราภิวงศ์ (แปลและเรียบเรียง) หน้า ๑๒๖.
[57] ที.ม. (บาลี) ๑๐/๒๗๕/๓๒๔.
[58] ที.ม.(บาลี) ๑๐/๒๗๕/๓๒๔.
[59] เรื่องเดียวกัน. หน้า ๑๓๒.
[60] ที.ม. (บาลี) ๑๐/๒๗๕/๓๒๕.
[61] เรื่องเดียวกัน. หน้า ๑๓๒.
[62] ที.ม. (บาลี) ๑๐/๒๗๕/๓๒๕.
[63] มหาสติปัฏฐานสูตรทางสู่พระนิพพาน. พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ. ๙ M.A . Ph. D) ตรวจชำระ พระคันธสาราภิวงศ์ (แปลและเรียบเรียง). หน้า ๑๓๔.
[64] ที.ม. (บาลี) ๑๐/๒๗๕/๓๒๕.
[65] พระโสภณมหาเถระ. (มหาสีสยาดอ) มหาสติปัฏฐานสูตรทางสู่พระนิพพาน, พระคันธสาราภิวงศ์ (แปลและเรียบเรียง) หน้า ๑๓๔.
[66] จำลอง ดิษยวณิช, วิปัสสนากรรมฐานและเชาวน์อารมณ์ ฉบับปรับปรุง, (เชียงใหม่ :ห้างหุ้นส่วนจำกัด เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์, พิมพ์ครั้งที่ ๓), หน้า ๕๒-๕๔.
[67] ม.มู. (บาลี) ๑๒/๑๓๗/๑๐๖.
[68] ม.มู. (ไทย) ๑๒/๑๓๗/๗๕.
[69] เรื่องเดียวกัน. หน้า ๑๘๘.
[70] วิปัสสนากรรมฐานและเชาวน์อารมณ์ ฉบับปรับปรุง, จำลอง ดิษยวณิช. เชียงใหม่: พิมพ์ที่เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์, ๒๕๔๙: หน้า ๕๑.
[71] ที. ม. (บาลี) ๑๐/๓๘๐/๒๖๕.
[72] ที. ม. (ไทย) ๑๐/๓๘๐/๓๑๓.
[73] สํ.สฬา. (ไทย) ๑๘/๒๗๐/๓๐๒ – ๓๐๓.
[74] เรื่องเดียวกัน.
[75] อภิ.วิ. (ไทย) ๓๕/๓๖๓/๓๑๐.
[76] องฺ.ทสก. (ไทย) ๒๔/๖๐/๘๗.
[77] ม.มู. (ไทย) ๑๒/๒๔/๑๔-๑๕.
[78] ม.มู. (ไทย) ๑๒./๔๕/๓๐๘.
[79] สํ.ข. (ไทย) ๑๗/๕๑/๔๒.
[80] พระราชพรหมาจารย์ (พระอาจารย์ทอง สิริมงฺคโล) คู่มือการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในแนวสติปัฏฐาน ๔ หน้า ๕.
[81] พระโสภณมหาเถระ. (มหาสีสยาดอ) มหาสติปัฏฐานสูตรทางสู่พระนิพพาน พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ. ๙ M.A. Ph. D) ตรวจชำระ พระคันธสาราภิวงศ์ (แปลและเรียบเรียง). หน้า ๒๕๒.
[82] ม.ม. (บาลี) ๑๒/๑๓๑/๑๐๓ , ที.ม.ฏีกา (บาลี) ๒/๑๑๐.
[83] ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๘๑/๓๑๔-๓๑๕.
[84] พระราชพรหมาจารย์ (พระอาจารย์ทอง สิริมงฺคโล) คู่มือการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในแนวสติปัฏฐาน ๔ หน้า ๕.
[85] ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๘๒/๓๑๖-๓๑๗.
[86] ม.ม. (บาลี) ๑๒/๑๓๑/๑๐๓ , ที.ม.ฏีกา (บาลี) ๒/๑๑๐.
[87]ที.ปา.(ไทย)๑๑/๑๓๕/๓๐๑,องฺ.นวก. (ไทย)๒๓/๖๔/๕๔๙, อภิ.วิ.(ไทย)๓๕/๙๔๑/๕๙๕.
[88] พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ), พระคันธสาราภิวงศ์ แปลและเรียบเรียง, พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ. ๙ M.A, Ph.D.) ตรวจชำระ, มหาสติปัฏฐานสูตร ทางสู่พระนิพพาน, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด โทยรายวันการพิมพ์, ๒๕๔๙), หน้า ๒๘๑.
[89] พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย), [๒๑๖], หน้า ๑๖๒ – ๑๖๓.
[90] ดูรายละเอียดใน ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๘๔/๓๑๙.
[91] ที.ปา. (บาลี) ๑๑/๓๐๔-๓๐๕/๒๕๕.
[92] นายแพทย์ชินโอสถ หัสบำเรอ, วิธีการสร้างโปรแกรมจิต เพื่อใช้สมองอย่างคอมพิวเตอร์, (กรุงเทพมหานคร : นิตยาสารโลกทิพย์), หน้า ๑๐๙.
[93] ดูรายละเอียดใน ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๘๕/๓๒๑.
[94] ที.ม. (ไทย) ๑๐/ ๓๘๕/๓๒๐–๓๒๓.
[95] อู บัณฑิตาภิวังสะ พระกัมมัฏฐานาจริยะ, พระสว่าง ติกฺขวิโร ปรับปรุงแปล, พระครูปลัดประจาก สิริวณฺโณ ตรวจ, IN THIS VERY LIFE รู้แจ้งในชาตินี้, (กรุงเทพมหานคร : สหธรรมมิก จำกัด) ๒๕๔๘.
[96] พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), พุทธธรรม, (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย), ๒๕๔๙, หน้า ๘๗๙.
[97] สํ.ม.อ. (บาลี) ๓/๑๘๔/๒๑๐, องฺ.ติก.อ. (บาลี) ๒/๘๘/๒๔๓.
[98] สํ.ม.อ. (บาลี) ๓/๑๘๔/๒๑๐, องฺ.ติก.อ. (บาลี) ๒/๘๘/๒๔๓.
[99] สํ.ม.อ. (บาลี) ๓/๑๘๔/๒๑๐, องฺ.ติก.อ. (บาลี) ๒/๘๘/๒๔๓.
[100] สํ.ม.อ. (บาลี) ๓/๑๘๔/๒๑๐, องฺ.ติก.อ. (บาลี) ๒/๘๘/๒๔๓.
[101] สํ.ม.อ. (บาลี) ๓/๑๘๔/๒๑๐, องฺ.ติก.อ. (บาลี) ๒/๘๘/๒๔๒.
[102] สํ.มหา. (ไทย) ๑๙/๑๘๔/๑๑๖.
[103] ดูรายละเอียดใน ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๘๖/๓๒๔.
[104] ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๘๖-๔๐๒/๒๖๐-๒๖๘.
[105] พระโสภณมหาเถระ( มหาสีสยาดอ), มหาสติปัฏฐานสูตร ทางสู่พระนิพพาน, แปลโดย
พระคันธสาราภิวงศ์, (กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วน จำกัด ไทยรายวันการพิมพ์, ๒๕๔๙), หน้า๔๓๘-๙.
[106] ที.ม. (ไทย) ๑๐/ ๓๐๐/๒๓๓. ที.ม. (บาลี) ๑๐.๔๐๕.๒๘๒.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น