สติปัฏฐาน ๔
สติปัฏฐาน 4 เป็นหลักธรรมที่อยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตร[1] เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง คือเข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ สติปัฏฐานมี 4 ระดับ คือ กาย เวทนา จิต และ ธรรม
คำว่าสติปัฏฐานนั้นมาจาก (สร ธาตุ + ติ ปัจจัย + ป อุปสัคค์ + ฐา ธาตุ+ยุปัจจัย แปลง ยุ >อน) แปลว่า สติที่ตั้งมั่น, การหมั่นระลึก, การมีสัมมาสติระลึกรู้นั้นพ้นจากการคิดโดยตั้งใจ แต่เกิดจากจิตจำสภาวะได้ แล้วระลึกรู้โดยอัตโนมัติ โดยคำว่า สติ หมายถึงความระลึกรู้ เป็นเจตสิกประเภทหนึ่ง ส่วนปัฏฐาน แปลได้หลายอย่าง แต่ใน มหาสติปัฏฐานสูตร และ สติปัฏฐานสูตร หมายถึง ความตั้งมั่น, ความแน่วแน่, ความมุ่งมั่น
โดยรวมคือเข้าไปรู้เห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ตามมุ่งมองของไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ โดยไม่มีความยึดติดด้วยอำนาจกิเลสทั้งปวง ได้แก่
1.กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้กายเป็นฐาน ซึ่งกายในที่นี่หมายถึงประชุม หรือรวม นั่นคือธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟมาประชุมรวมกันเป็นร่างกาย ไม่มองกายด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา แต่มองแยกเป็น รูปธรรมหนึ่งๆ เห็นความเกิดดับ กายล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
2.เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้เวทนาเป็นฐาน ไม่มองเวทนาด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขาคือไม่มองว่าเรากำลังทุกข์ หรือเรากำลังสุข หรือเราเฉยๆ แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ เวทนาล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
3.จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน เป็นการนำจิตมาระลึกรู้เจตสิกหรือรู้จิตก็ได้ ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อลอย แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
4.ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้สภาวะธรรมเป็นฐาน ทั้งรูปธรรมและนามธรรมล้วนมีความเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
*มติอาจารย์บางพวก
อานิสงส์ของสติปัฏฐาน4
2.เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การพิจารณาเวทนาขันธ์ อานิสงค์ คือ ทำลายสุขวิปลาส (สำคัญความทุกข์ว่าสุข) เหมาะสมกับนักปฏิบัติที่เป็นตัณหาจริตทั้ง 3 คือราคะจริต โทสะจริต โมหะจริต และเป็นสมถยานิก
3.จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การพิจารณาวิญญาณขันธ์ อานิสงค์ คือ ทำลายอนิจจวิปลาส (สำคัญความไม่แน่นอนว่าแน่นอน) เหมาะสมกับนักปฏิบัติที่เป็นทิฏฐิจริตทั้ง 3 คือศรัทธาจริต พุทธิจริต วิตกจริต และเป็นวิปัสสนายานิก
4.ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การพิจารณาสัญญาขันธ์และสังขารขันธ์ อานิสงค์ คือ ทำลายอนัตตวิปลาส (ความไม่มีตัวตนว่ามีตัวตน) เหมาะสมกับนักปฏิบัติที่เป็นทิฏฐิจริตทั้ง 3 คือศรัทธาจริต พุทธิจริต วิตกจริต และเป็นวิปัสสนายานิก
คำว่า สมถะยานิก ไม่ได้หมายถึง ความมีสมาธิมากหรือน้อย แต่กล่าวถึง ผู้ที่ใช้สมถะนำเพราะเหมาะแก่ตน ซึ่งบุคคลคนๆนั้น อาจมีสมาธิมาก หรือน้อยก็ได้ มีมากก็เช่นในทิฏฐิวิสุทธินิทเทส มีน้อยก็ตามเนตติปกรณ์และสติปัฏฐานสูตร. จริงอย่างนั้น ในทิฏฐิวิสุทธินิทเทส ท่านกล่าวสมถะยานิกไว้ในฐานะที่มีสมาธิมาก, ส่วนในเนตติปกรณ์และสติปัฏฐานสูตร เป็นต้น ท่านกล่าวไว้ในฐานะที่เหมาะกับตัณหาจริต เพราะเป็นสภาพที่เป็นปฏิปักษ์กัน จึงเหมาะแก่การกำจัดจริตฝ่ายชั่วนั้นๆ. แต่ท่านไม่ได้หมายถึง การที่พระสมถะยานิก มีโพชฌงค์ฝ่ายสมาธิมากในที่นั้นเลย มีแต่ในวิสุทธิมรรค ซึ่งคนละนัยยะกับสติปัฏฐานสูตร
นอกจากนี้ อาจารย์เหล่านั้นยังกล่าวว่า .-
"โดยที่อานาปานสติเหมาะสมกับทุกจริตทั้งตัณหาจริต และทิฏฐิจริต ทั้งสมถะยานิก และวิปัสสนายานิก" ดังนี้
ข้อนั้นไม่สมกับพระไตรปิฎก เพราะท่านกล่าวไว้ว่า อานาปานสติเป็นกายานุปัสนาสติปัฏฐาน ในอรรถกถากล่าวว่า กายานุปัสนาสติปัฏฐาน เหมาะกับ ตัณหาจริต สมถยานิก, และในวิสุทธิมรรค ท่านก็กล่าวความที่อานาปานสติเหมาะแก่โมหจริตไว้ในสมาธินิทเทส ซึ่งหนังสือพุทธธรรมก็ได้อ้างถึงไว้ด้วย
อนึ่ง ความหมายนี้ในพระไตรปิฎกใช้เพียงคำว่า สติปัฏฐาน เท่านั้น ส่วนคำว่า มหาสติปัฏฐาน นั้นมีใช้เป็นชื่อพระสูตรเท่านั้น ไม่มีใช้ในความหมายนี้โดยตรง
การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ สามารถทำลายวิปลาสธรรม ๔ ประการได้ คือ
๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการใช้สติตั้งมั่นในการพิจารณากาย ซึ่งเป็นรูปธรรม เพื่อให้เห็นว่า แท้ที่จริงรูปนั้นเป็นอสุภะ(ความไม่งาม,ความน่าเกลียด) เป็นการทำลาย สุภวิปลาส(สำคัญว่างาม,ว่าน่ารัก)
๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการใช้สติตั้งมั่นในการพิจารณาเวทนา ซึ่งเป็นนามธรรม เพื่อให้เห็นว่า แท้ที่จริงเแล้ว นามเป็นทุกข์ เป็นการทำลาย สุขวิปลาส(สำคัญว่าเป็นสุข)
๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการใช้สติตั้งมั่นในการพิจารณาจิต ซึ่งเป็นนามธรรม เพื่อให้เห็นว่า แท้ที่จริงแล้วนามเป็นอนิจจัง เป็นการทำลาย นิจจวิปลาส(สำคัญว่าเที่ยง)
๔. ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการใช้สติตั้งมั่นในการพิจารณาธรรม ซึ่งเป็นทั้งรูปธรรม และนามธรรม เพื่อให้เห็นว่า แท้ที่จริงแล้ว รูป และนามนั้น เป็นอนัตตา เป็นการทำลาย อัตตวิปลาส(สำคัญว่าเป็นตัวตน)
โดยทั่วไปแล้ว ชีวิตทุกชีวิตย่อมมีวิปลาสธรรมเสมอ วิปลาสธรรม หมายถึง ธรรมที่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง ทั้งนี้เพราะตั้งแต่เกิดมาเราไม่เคยรู้เลยว่า ชีวิตคือ ขันธ์ห้า ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ อันประกอบขึ้นจาก จิต เจตสิก และรูป ที่มีการเกิดดับสืบต่อกันไปอย่างไม่ขาดสาย ทั้งนี้เพราะ อาสวะ และอวิชชา ที่เรามีมาเนิ่นนานจนนับภพนับชาติไม่ถ้วน ประกอบกับตัวการสำคัญที่มาคอยปิดบัง ทำให้เราไม่สามารถเข้าถึงสภาวธรรมของความจริงอันได้แก่ “ไตรลักษณ์” ได้ นั่นคือ
๑. สันตติ ปิดบัง อนิจจัง เพราะสันตติ คือ การเกิดสืบต่อของนามรูปที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ไม่สามารถเห็นความเกิด และความดับของนามรูปได้ เราจึงเข้าใจผิดว่ามีความเที่ยงแท้ถาวร (นิจจัง)
๒. อิริยาบถ ปิดบัง ทุกขัง เพราะการเปลี่ยนแปลงอิริยาบถ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ที่มีอยู่เกือบตลอดเวลา จึงทำให้คนเรามองไม่เห็นทุกข์ที่เกิดจากอิริยาบถเก่า ด้วยอำนาจของตัณหา คนเราจึงไขว่คว้าหาความสบายจากอิริยาบถใหม่ เมื่อเปลี่ยนแล้วหลงเข้าใจว่าเป็นสุข การเปลี่ยนแปลงอิริยาบถจึงปิดบังทุกขเวทนา ทำให้ไม่สามารถเห็นทุกขสัจจะได้
๓. ฆนสัญญา ปิดบัง อนัตตา เพราะ ฆนสัญญา คือ ความเป็นกลุ่มเป็นก้อนที่เกิดจากการประชุมกันของรูปธรรม และนามธรรม จึงทำให้เราหลงผิดคิดว่าชีวิตเป็นตัวตน (อัตตา)
เพราะธรรมที่ปิดบังไตรลักษณ์นี้เอง จึงทำให้เราหลงผิดคิดว่า ชีวิตคือรูปนามนี้ดี มีความสวยงามน่ารัก(สุภวิปลาส) มีความสุขสบาย (สุขวิปลาส ) มีความเที่ยงแท้ ถาวร (นิจจวิปลาส) และเป็นตัวตน คน สัตว์ (อัตตวิปลาส) ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงแล้ว ชีวิตเป็นเพียงแค่ขันธ์ห้า คือรูปธรรมและนามธรรม ที่ประกอบกันขึ้นมาด้วยรูปธาตุ จนเป็นรูปกลาปต่างๆ ในที่สุดก็เกิดเป็นกลุ่มก้อนของอวัยวะที่ล้วนมีแต่อสุภะ และทั้งรูปนามที่เกิดขึ้นนั้นก็คงสภาพเดิมไว้ไม่ได้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องแตกดับ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง และไม่สามารถบังคับบัญชาได้
องค์ธรรมของวิปลาสมี ๓ คือ ทิฏฐิ (ทำให้เห็นผิด) จิต (ทำให้เข้าใจผิด) สัญญา (ทำให้จำผิด) ประกอบกับวิปลาสธรรมมี ๔ คือ หลงผิดคิดว่าชีวิตนี้ดี มีสุข เที่ยง และเป็นตัวตน จึงรวมเป็นวิปลาสธรรม ๑๒ ประการ ซึ่งวิปลาสเหล่านี้เอง ที่เป็นตัวการสำคัญทำให้ชีวิตคนเราต้องมีความดิ้นรนแสวงหาเพื่อให้ได้มาซึ่งอารมณ์ที่ดี (อิฏฐารมณ์) เมื่อสมหวังก็เกิดความพอใจ เรียกว่า อภิชฌา แต่ถ้าได้รับอารมณ์ที่ไม่ดี (อนิฏฐารมณ์) ก็จะผิดหวัง ไม่พอใจ เรียกว่า โทมนัส ไม่ว่าจะพอใจ หรือไม่พอใจล้วนเป็นกิเลสทั้งสิ้น บางท่านเรียกความต้องการในอารมณ์ที่น่ายินดี และปัดป้องอารมณ์ที่ไม่น่ายินดีนี้ว่า “ตัณหา” แต่ถ้าผู้ใดสามารถวางใจไว้ได้อย่างแยบคาย หรือที่เรียกว่ามี “โยนิโสมนสิการ” ในสติปัฏฐาน ๔ นั่นคือสามารถกำหนดสติได้เท่าทันในปัจจุบันอารมณ์ ว่ามีรูปอะไร หรือนามอะไรเกิดขึ้น สติและสัมปชัญญะที่เกิดขึ้นในขณะนั้นย่อมป้องกันกิเลส-ตัณหา ทำให้อภิชฌา และโทมนัสเกิดขึ้นไม่ได้ จึงเป็นที่แน่นอนว่าอารมณ์ขณะนั้นย่อมปราศจากกิเลส เมื่อกิเลสไม่มี กรรมย่อมไม่เกิด ขณะนั้นจึงเป็นวิวัฏฏกรรม ซึ่งไม่สามารถทำให้เกิดผลคือวิบาก อันได้แก่รูปนามขันธ์ห้า (ชีวิต) ที่จะมีต่อไปในภายภาคหน้าได้อย่างแน่นอน
*องค์ธรรมของ สติปัฏฐาน ๔ นี้ ได้แก่ สติเจตสิก ที่ประกอบกับจิตที่เป็นติเหตุกชวนจิต ๓๔ ดวง คือ มหากุศลญาณสัมปยุตตกุศลจิต ๔ มหากิริยาญาณสัมปยุตตกุศลจิต ๔ มหัคคตกุศลจิต ๙ มหัคคตกิริยาจิต ๙ โลกุตตรจิต ๘
ดังนั้นวิปลาสธรรมทั้งหมดมีเกิดขึ้นมาได้ เพราะเราไม่เท่าทันในความจริงของชีวิตรูป และชีวิตนาม ที่เรียกว่า “อโยนิโสมนสิการ” แต่ขณะใดที่มี “โยนิโสมนสิการ” ขณะนั้นสติปัฏฐานก็เกิดขึ้นด้วย และเป็นที่แน่นอนว่าเวลานั้นวิปลาสธรรมจะเกิดขึ้นไม่ได้ อาจกล่าวได้ว่าโยนิโสมนสิการ เป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะไขประตูชีวิต ให้ผู้ปฏิบัติได้เข้าไปเห็นความจริงว่า “ชีวิตที่ประกอบด้วยรูปนามขันธ์ห้านั้น แท้ที่จริงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา”
*มีพุทธวจนะกล่าวไว้ว่า
ธรรมชาติใดก็แล้วแต่ ย่อมเห็นแจ้ง และขับไล่วิปลาสธรรมให้ออกไปได้ ธรรมชาตินั้นเรียกว่า "วิปัสสนา"
ธรรมชาติใดก็แล้วแต่ ย่อมเห็นแจ้งในขันธ์ ๕ โดยประการต่างๆ มีอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ธรรมชาตินั้นเรียกว่า "วิปัสสนา"
คำว่า วิปสฺสนา นั้นมาจาก (วิ + ทิส ธาตุ เปกฺขเน ในการเห็น แปลงทิส เป็น ปสฺส ทิส>ปสฺส + ยุปัจจัย แปลง ยุ >อน + ลง อา ปัจจัย อิตถีโชตกะ สำเร็จ เป็น วิปสฺสนา)
*ฉะนั้น การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ ก็คือ การปฏิบัติวิปัสสนานั่นเอง
สรุปได้ว่า การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ หรือการปฏิบัติวิปัสสนา เท่านั้น จึงจะสามารถทำลายวิปลาสธรรมทั้ง ๔ ได้ และเมื่อใดที่วิปลาสธรรมถูกทำลายลง เมื่อนั้นผู้ปฏิบัติย่อมเข้าถึงสภาวธรรมแห่งไตรลักษณ์ หากบุคคลใดได้ประจักษ์แจ้งในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้ว บุคคลนั้นย่อมเป็นผู้ที่กำลังดำเนินอยู่ในเส้นทางของการพ้นทุกข์โดยตรง
*อ้างอิง
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาสติปัฏฐานสูตร . พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ.
*ดูเพิ่มเติม
[1] ที.ม. (ไทย) ๑๐/๒๗๓/๒๕๗. ผู้สนใจ ศึกษาคำอธิบายอย่างละเอียดได้จากหนังสือของท่าน พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ),มหาสติปัฏฐานสูตร ทางสู่พระนิพพาน, แปลโดยพระคันธสาราภิวงศ์, (กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยรายวันการพิมพ์, ๒๕๔๙).
[2] พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ),มหาสติปัฏฐานสูตรทางสู่พระนิพพาน, แปลโดยพระคันธสาราภิวงศ์, หน้า๒๔.
[3] กจฺ. ข้อ ๕๔๗ ด้วยสูตรว่า กตฺตุกรณปเทสุ จ.
[4] กจ. ข้อ ๖๒๒ ด้วยสูตรว่า อนกา ยุณฺวูนํ..
[5] ที.ม.อ. (บาลี) ๓๖๗-๓๖๘, ที.ม.ฏีกา(บาลี) ๓๕๗-๓๕๙.
[6]พระสัทธัมมโชติกะธัมมาจริยะ,ปรมัตถโชติกะปริจเฉทที่ ๗. หน้า ๑๓๑.
[7] พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ, ปรมัตถโชติกะ ปริจเฉทที่ ๓ และปริจเฉทที่ ๗, (กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทิพยวิสุทธิ์), หน้า ๑๓๐.
[8] ม.ม. (บาลี) ๑๒/๑๓๑/๑๐๓ , ที.ฏีกา (บาลี) ๒/๑๑๐.
[9] ที.ม. (ไทย) ๑๐/๒๗๓/๒๑๖.
[10] การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามหลักสติปัฏฐาน ๔ พระอาจารย์ ดร. ภัททันตะ อาสภเถระธัมมาจริยะ อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยะ
[11] ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๗๓/๓๐๑
[12]ที.ม. (บาลี) ๑๐/๒๗๓/๓๒๒.
[13] ที.ม. (ไทย) ๑๐/๒๗๔/๒๑๖, ที.ฏีกา (บาลี) ๒/๑๑๐.
[14] ดูรายละเอียดใน วิสุทฺธิ. (บาลี) ๑/๑๒๐.
[15] สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๙๘๔/๔๖๒ , สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๙๘๑/๔๕๗.
[16] สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๙๘๔/๔๖๑.
[17] ดูรายละเอียดใน ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๑๔๙/๑๘๙.
[18] ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๑๔๙/๑๙๐.
[19] วิ.มหา. (บาลี) ๑/๑๖๕/๙๖, ม.ม. (บาลี) ๑๓/๑๒๑/๙๕ , ม.อุ. (บาลี) ๑๔/๑๔๘/๑๓๐.
[20] ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนา มี ๙ อย่าง ได้แก่ ๑)อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ๒) ภังคานุปัสสนาญาณ ๓) ภยตูปัฏฐานญาณ ๔) อาทีนวานุปัสสนาญาณ ๕) นิพพิทานุปัสสนาญาณ ๖) มุญจิตุกัมยตาญาณ ๗) ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ๘) สังขารุเปกขาญาณ ๙) สัจจานุโลมิกญาณ ดูใน องฺ.จตุกฺก.อ. (บาลี)๒/๑๖๒/๓๘๗, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา (บาลี) ๒/๑๖๒/๔๒๕.
[21] วิสุทฺธิ. (บาลี) ๑/๓๐๐ , วิ.มหา.อ. (บาลี) ๑/๕๐๕ ,ขุ.ป.อ. (บาลี) ๒/๑๐๗.
[22] ม.มู.ฏีกา (บาลี) ๑/๔๙/๒๕๗ , วิสุทฺธิ.มหาฏีกา (บาลี) ๑/๓/๑๕.
[23] ขุ.ป. (บาลี) ๓๑/๑๖๗/๒๕๘.
[24] วิสุทฺธิ. (บาลี) ๑/๓๐๐ ,ขุ.ป.อ. (บาลี) ๒/๑๐๗.
[25] พระโสภณมหาเถระ,วิปัสสนานัย เล่ม ๑ . พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม)ตรวจชำระ, พระคันธสาราภิวงศ์ เรียบเรียง, : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซีเอไอ เซ็นเตอร์, ๒๕๔๘.
[26] ที.ม. (บาลี) ๑๐/๓๘/๒๖๒.
[27] ดูรายละเอียดใน ม.ม. (บาลี) ๑๓/๑๗๗/๙๓, อภิ.สงฺ.อ. (บาลี) ๑/๑๐๑๑/๓๙๑, พระโสภณมหาเถระ(มหาสีสยาดอ) , วิปัสสนานัย เล่ม ๑, อ้างแล้ว, หน้า ๒๒๙.
[28] ระงับกายสังขาร หมายถึงผ่อนคลายลมหายใจหยาบให้ละเอียดขึ้นไปโดยลำดับ จนถึงขั้นที่จะต้องพิสูจน์ว่า มีลมหายใจอยู่หรือไม่ ดูใน วิสุทฺธิ. (บาลี) ๑/๒๒๐-๒๒๑/๒๙๘-๓๐๒.
[29] ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๑๕๓/๑๙๖.
[30] ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๑๕๔/๑๙๗.
[31] ม.อุ.อ. (บาลี) ๔/๑๐๙/๙๙.
[32] ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๗๕/๓๐๔ , พระโสภณมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต (มหาสีสยาดอ), พระคันธสาราภิวงศ์ เรียบเรียง, พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ. ๙, Ph.D) ตรวจชำระ, มหาสติปัฏฐานสูตร ทางสู่พระนิพพาน,พิมพ์ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด โทยรายวันการพิมพ์, ๒๕๔๙), หน้า ๒๒.
[33] ม.มู. (บาลี) ๑๒/๑๓๔/๑๐๕.
[34] ม.มู. (ไทย) ๑๒/๑๓๔/๗๔.
[35] ที.ม. (ไทย) ๑๐/๒๗๕/๒๑๗.
[36] ที.ม. (บาลี) ๑๐/๓๗๕/๒๘๙, ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๗๕/๓๐๔.
[37] ที.ม.อ. (บาลี) ๑๔/๒๙๙ , ม.มู.อ. (บาลี) ๑๗/๑๓๔/๖๗๕.
[38] ดูรายละเอียดใน พุทธทาสภิกขุ. วิปัสสนาในอิริยาบถยืน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธรรมสภา, ๒๕๔๒.
[39] อ้างแล้ว.
[40] วิสุทฺธิ. (บาลี) ๓/๒๕๑, พระพุทธโฆสเถระ, วิสุทธิมรรค, สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) แปลและเรียบเรียง พิมพ์ครั้งที่ ๖ (กรุงเทพฯ : บริษัท ธนาเพรส จำกัด, ๒๕๔๘), ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๒๑๔/๑๗๓ – ๑๗๔., สํ.ม.อ. (บาลี) ๓/๓๖๔/๒๖๑., อภิ.วิ.อ. (บาลี) ๑/๕๑๓/๓๘๐.
[41] ที.ฎีกา (บาลี) ๑/๓๐๑-๒, ม.ฎีกา (บาลี) ๑/๔๔๖.
[42] ธนิต อยู่โพธิ์. วิปัสสนานิยม, พิมพ์ครั้งที่ ๗. พ.ศ ๒๕๔๐. หน้า ๒๘.
[43] อง.ปญฺจก. (บาลี) ๒๒/๒๙/๓๑.
[44] ที.ม. (บาลี) ๑๐/๓๗๔/๒๘๙, ที.ม.(ไทย)๑๐/๓๗๔/๓๐๒, วิสุทฺธิ. (บาลี)๑/๒๙๕.
[45] ที.ม.อ. (บาลี) ๑๔/๒๙๙, ม.มู.อ. (บาลี) ๑๗/๑๓๔/๖๗๕.
[46] มหาสติปัฏฐานสูตรทางสู่พระนิพพาน, พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ.๙ M.A. Ph.D) ตรวจชำระ พระคันธสาราภิวงศ์ (แปลและเรียบเรียง) หน้า ๔๓.
[47] ที.ม. (ไทย) ๑๐/๒๗๕/๒๑๗.
[48] ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๕๗/๒๔๙.
[49] ม.มู.อ. (ไทย) ๑๗/๑๓๔/๖๗๕.
[50] พระราชพรหมาจารย์ (พระอาจารย์ทอง สิริมงฺคโล) คู่มือการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในแนวสติปัฏฐาน ๔ หน้า ๕.
[51] ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๗๖/๓๐๕.
[52] ม.มู. (บาลี) ๑๒/๑๓๕/๑๐๕.
[53] ม.มู. (ไทย) ๑๒/๑๓๕/๗๔.
[54] ที.ม.อ. (ไทย) ๑๔/๒๗๖/๒๑๒, ม.มู.อ. (ไทย) ๑๗/๑๓๕/๖๐๘-๖๐๙.
[55] ที.ม. (บาลี) ๑๐/๒๗๕/๓๒๔.
[56] มหาสติปัฏฐานสูตรทางสู่พระนิพพาน. พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ. ๙ M.A . Ph. D) ตรวจชำระ พระคันธสาราภิวงศ์ (แปลและเรียบเรียง) หน้า ๑๒๖.
[57] ที.ม. (บาลี) ๑๐/๒๗๕/๓๒๔.
[58] ที.ม.(บาลี) ๑๐/๒๗๕/๓๒๔.
[59] เรื่องเดียวกัน. หน้า ๑๓๒.
[60] ที.ม. (บาลี) ๑๐/๒๗๕/๓๒๕.
[61] เรื่องเดียวกัน. หน้า ๑๓๒.
[62] ที.ม. (บาลี) ๑๐/๒๗๕/๓๒๕.
[63] มหาสติปัฏฐานสูตรทางสู่พระนิพพาน. พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ. ๙ M.A . Ph. D) ตรวจชำระ พระคันธสาราภิวงศ์ (แปลและเรียบเรียง). หน้า ๑๓๔.
[64] ที.ม. (บาลี) ๑๐/๒๗๕/๓๒๕.
[65] พระโสภณมหาเถระ. (มหาสีสยาดอ) มหาสติปัฏฐานสูตรทางสู่พระนิพพาน, พระคันธสาราภิวงศ์ (แปลและเรียบเรียง) หน้า ๑๓๔.
[66] จำลอง ดิษยวณิช, วิปัสสนากรรมฐานและเชาวน์อารมณ์ ฉบับปรับปรุง, (เชียงใหม่ :ห้างหุ้นส่วนจำกัด เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์, พิมพ์ครั้งที่ ๓), หน้า ๕๒-๕๔.
[67] ม.มู. (บาลี) ๑๒/๑๓๗/๑๐๖.
[68] ม.มู. (ไทย) ๑๒/๑๓๗/๗๕.
[69] เรื่องเดียวกัน. หน้า ๑๘๘.
[70] วิปัสสนากรรมฐานและเชาวน์อารมณ์ ฉบับปรับปรุง, จำลอง ดิษยวณิช. เชียงใหม่: พิมพ์ที่เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์, ๒๕๔๙: หน้า ๕๑.
[71] ที. ม. (บาลี) ๑๐/๓๘๐/๒๖๕.
[72] ที. ม. (ไทย) ๑๐/๓๘๐/๓๑๓.
[73] สํ.สฬา. (ไทย) ๑๘/๒๗๐/๓๐๒ – ๓๐๓.
[74] เรื่องเดียวกัน.
[75] อภิ.วิ. (ไทย) ๓๕/๓๖๓/๓๑๐.
[76] องฺ.ทสก. (ไทย) ๒๔/๖๐/๘๗.
[77] ม.มู. (ไทย) ๑๒/๒๔/๑๔-๑๕.
[78] ม.มู. (ไทย) ๑๒./๔๕/๓๐๘.
[79] สํ.ข. (ไทย) ๑๗/๕๑/๔๒.
[80] พระราชพรหมาจารย์ (พระอาจารย์ทอง สิริมงฺคโล) คู่มือการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในแนวสติปัฏฐาน ๔ หน้า ๕.
[81] พระโสภณมหาเถระ. (มหาสีสยาดอ) มหาสติปัฏฐานสูตรทางสู่พระนิพพาน พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ. ๙ M.A. Ph. D) ตรวจชำระ พระคันธสาราภิวงศ์ (แปลและเรียบเรียง). หน้า ๒๕๒.
[82] ม.ม. (บาลี) ๑๒/๑๓๑/๑๐๓ , ที.ม.ฏีกา (บาลี) ๒/๑๑๐.
[83] ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๘๑/๓๑๔-๓๑๕.
[84] พระราชพรหมาจารย์ (พระอาจารย์ทอง สิริมงฺคโล) คู่มือการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในแนวสติปัฏฐาน ๔ หน้า ๕.
[85] ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๘๒/๓๑๖-๓๑๗.
[86] ม.ม. (บาลี) ๑๒/๑๓๑/๑๐๓ , ที.ม.ฏีกา (บาลี) ๒/๑๑๐.
[87]ที.ปา.(ไทย)๑๑/๑๓๕/๓๐๑,องฺ.นวก. (ไทย)๒๓/๖๔/๕๔๙, อภิ.วิ.(ไทย)๓๕/๙๔๑/๕๙๕.
[88] พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ), พระคันธสาราภิวงศ์ แปลและเรียบเรียง, พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ. ๙ M.A, Ph.D.) ตรวจชำระ, มหาสติปัฏฐานสูตร ทางสู่พระนิพพาน, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด โทยรายวันการพิมพ์, ๒๕๔๙), หน้า ๒๘๑.
[89] พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย), [๒๑๖], หน้า ๑๖๒ – ๑๖๓.
[90] ดูรายละเอียดใน ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๘๔/๓๑๙.
[91] ที.ปา. (บาลี) ๑๑/๓๐๔-๓๐๕/๒๕๕.
[92] นายแพทย์ชินโอสถ หัสบำเรอ, วิธีการสร้างโปรแกรมจิต เพื่อใช้สมองอย่างคอมพิวเตอร์, (กรุงเทพมหานคร : นิตยาสารโลกทิพย์), หน้า ๑๐๙.
[93] ดูรายละเอียดใน ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๘๕/๓๒๑.
[94] ที.ม. (ไทย) ๑๐/ ๓๘๕/๓๒๐–๓๒๓.
[95] อู บัณฑิตาภิวังสะ พระกัมมัฏฐานาจริยะ, พระสว่าง ติกฺขวิโร ปรับปรุงแปล, พระครูปลัดประจาก สิริวณฺโณ ตรวจ, IN THIS VERY LIFE รู้แจ้งในชาตินี้, (กรุงเทพมหานคร : สหธรรมมิก จำกัด) ๒๕๔๘.
[96] พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), พุทธธรรม, (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย), ๒๕๔๙, หน้า ๘๗๙.
[97] สํ.ม.อ. (บาลี) ๓/๑๘๔/๒๑๐, องฺ.ติก.อ. (บาลี) ๒/๘๘/๒๔๓.
[98] สํ.ม.อ. (บาลี) ๓/๑๘๔/๒๑๐, องฺ.ติก.อ. (บาลี) ๒/๘๘/๒๔๓.
[99] สํ.ม.อ. (บาลี) ๓/๑๘๔/๒๑๐, องฺ.ติก.อ. (บาลี) ๒/๘๘/๒๔๓.
[100] สํ.ม.อ. (บาลี) ๓/๑๘๔/๒๑๐, องฺ.ติก.อ. (บาลี) ๒/๘๘/๒๔๓.
[101] สํ.ม.อ. (บาลี) ๓/๑๘๔/๒๑๐, องฺ.ติก.อ. (บาลี) ๒/๘๘/๒๔๒.
[102] สํ.มหา. (ไทย) ๑๙/๑๘๔/๑๑๖.
[103] ดูรายละเอียดใน ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๘๖/๓๒๔.
[104] ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๘๖-๔๐๒/๒๖๐-๒๖๘.
[105] พระโสภณมหาเถระ( มหาสีสยาดอ), มหาสติปัฏฐานสูตร ทางสู่พระนิพพาน, แปลโดย
พระคันธสาราภิวงศ์, (กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วน จำกัด ไทยรายวันการพิมพ์, ๒๕๔๙), หน้า๔๓๘-๙.
[106] ที.ม. (ไทย) ๑๐/ ๓๐๐/๒๓๓. ที.ม. (บาลี) ๑๐.๔๐๕.๒๘๒.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น